กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1202
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการขับเสภาทางพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Sepa singing style of Prayasanohduriyang (Cham Sundaravadin) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล วิรัช สงเคราะห์, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปัณฉัตร หมอยาดี |
คำสำคัญ: | พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน), 2409-2492 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เสภา |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทร วาทิน) และ (2) รูปแบบและหลักการขับเสภาทางพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านขับเสภา 4 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า 1) พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เป็นนักดนตรีไทยที่รับราชการในราชสำนักตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลที่ 7 ผลงานโดดเด่นของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) คือปรับปรุงการขับร้องเพลงไทยให้ละเมียดละไม ไพเราะมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้พัฒนาทางขับเสภาให้มีลีลาชั้นเชิงที่แยบยล แสดงอารมณ์และความรู้สึก และสะท้อนถึงความประณีตในการขับเสภา อีกทั้งมีวิธีการและระเบียบปฏิบัติในการขับเสภาที่ชัดเจนลงตัว 2) รูปแบบการขับเสภาของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) พบวาทำนองเกริ่นเสภาที่เป็นทำนองเอื้อนสำหรับการขึ้นต้นมี 4 แบบคือ เกริ่นอย่างยาว 2 แบบ เกริ่นอย่างกลาง 1 แบบเกริ่นอย่างสั้น 1 แบบ ส่วนทำนองหลักที่ใช้ในการขับเสภาทั้งหมดมี 7 ทำนองคือ ทำนองยืนทำนองเปลี่ยน ทำนองครวญต้นบท ทำนองหวน ทำนองยอด ทำนองผัน และทำนองครวญท้ายบท สำหรับหลักการขับเสภาทางพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) พบว่าหลักการขับเสภาที่ดีควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้คือ เสียง คำขับ การเอื้อน จังหวะ การหายใจ การสร้างอารมณ์ และความประณีต ซึ่งองค์ประกอบในการขับเสภาทุกองค์ประกอบดังกล่าวนี้ผู้สนใจเรียนขับเสภาต้องหมั่นศึกษา และฝึกฝนต่อเนื่องจนเกิดความชำนาญในที่สุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1202 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (6).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License