Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12032
Title: การเปิดรับความพึงพอใจและความต้องการสื่อประชาสัมพันธ์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
Other Titles: Exposure to,satisfaction with and needs for public relations media of personnel of Surindra Rajabhat University
Authors: ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร
ภัทรภร นิยมทอง, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อประชาสัมพันธ์
บุคลากรทางการศึกษา--ไทย--สุรินทร์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3) ความต้องการรับรู้ข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์และ 4) ความพึงพอใจในสื่อประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้บริหารงานด้านการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 269 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประกอบด้วย การแสวงหาข้อมูลและสำรวจกลุ่มเป้าหมาย การวางแผนการประชาสัมพันธ์ การเลือกสื่อประชาสัมพันธ์ การนำแผนประชาสัมพันธ์ไปปฏิบัติการเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมาย และการประเมินผลประชาสัมพันธ์ 2) สื่อประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับมากที่สุดคือ วิทยุกระจายเสียง โดยเนื้อหาที่เปิดรับมากที่สุดคือ ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ส่วนใหญ่เปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ ในช่วงเวลา 08.30-12.00 น. และเฉลี่ย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านวิชาการ กิจกรรมของมหาวิทยาลัย และการประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ 4) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจด้านสื่อประชาสัมพันธ์ และด้านเนื้อหาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12032
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
149981.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons