กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1203
ชื่อเรื่อง: บทบาทของ "คูขื่อหน้า" ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จนถึงสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พ.ศ. 1893-2133
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Role of Khu Kheu Na from The King Rama Thibodi I to The King Maha Dhramma Raja's Reigns, 1350-1590
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มัลลิกา มัสอูดี
วันลีย์ กระจ่างวี, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
คูขื่อหน้า--ประวัติ
กำแพงเมือง--ประวัติ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1) ความเป็นมาของคูขื่อหน้าในสมัยสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ 1 (2) บทบาทของคูขื่อหน้าที่มีต่อยุทธศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาและ (3) สาเหตุในการขุดขยายคูขื่อหน้าในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ เอกสารการขุดค้นทางโบราณคดี แผนที่โบราณและแผนที่ดาวเทียม โดยศึกษาบทบาทของ “คูขื่อหน้า” ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จนถึงสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พ.ศ. 1893 –2133 การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า 1) “คูขื่อหน้า” คือ คูเมืองทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองอยุธยาคูขื่อหน้าขุดขึ้นภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยขุดแยกจากแม่น้้าลพบุรีบริเวณหัวรอทางด้านทิศเหนือลงมาบรรจบกับแม่น้้าเจ้าพระยาตรงบริเวณป้อมเพชรทางด้านทิศใต้ ภายหลังจากการขุดคูขื่อหน้าคูน้้าแห่งนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยา 2) คูขื่อหน้ามีบทบาทในด้านยุทธศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาทั้งด้านการคมนาคม ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจและด้านการสงครามอย่างชัดเจน 3) สาเหตุของการขุดคูขื่อหน้า ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่าตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเขมรในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา และคูขื่อหน้าเป็นจุดอ่อนทางยุทธศาสตร์ในการป้องกันกองทัพข้าศึก ดังนั้นเมื่อเสร็จศึกพระยาละแวกสมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงโปรดฯ ให้สร้างวังใหม่หรือวังจันทน์เป็นที่ประทับขององค์อุปราชและขุดขยายคูขื่อหน้าให้กว้าง 10 วาลึก 3 วา จากนั้นโปรดฯให้ย้ายกำแพงเมืองและป้อมปราการไปให้ชิดริมคูขื่อหน้า เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคูขื่อหน้าในด้านยุทธศาสตร์ ทำให้กรุงศรีอยุธยามีความมั่นคงแข็งแรงและพร้อมรับมือข้าศึกที่จะยกเข้ามาประชิดกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1203
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (7).pdfเอกสารฉบับเต็ม12.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons