Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12048
Title: ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาไข่ฟักและอายุของไก่ปู่ย่าพันธุ์เนื้อ ต่อประสิทธิภาพการฟักและคุณภาพลูกไก่
Other Titles: Effect of egg storage periods and broiler grandparent stock age on hatching performance and chick quality
Authors: มณฑิชา พุทซาคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรินธร มณีรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพล เศษวงศ์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ไข่--การฟัก
ไข่--การเก็บและรักษา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาไข่ฟักและอายุไก่ปู่ย่าพันธุ์เนื้อต่อ 1)ประสิทธิภาพการฟัก และ 2) คุณภาพลูกไก่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง จัดการทดลองแบบ 4x3 แฟคทอเรียล ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่มมีปัจจัยที่ศึกษาจำนวน 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ระยะเวลาการเก็บไข่ฟัก 7, 14,21 และ 28 วันและปัจจัยที่ 2 อายุไก่ปู่ย่าพันธุ์เนื้อ 30, 40 และ 50 สัปดาห์ โดยใช้โรงเรือนเลี้ยงไก่ระบบปิดจำนวน 2 โรงเรือน (บล็อก) ในการทดลองใช้ไข่ฟักทดลองจำนวน 6,048 ฟองต่อโรงเรือน โดยมีทรีตเมนต์ผสมทั้งหมด 12 ทรีตเมนต์ผสมแต่ละทรีตเมนต์ผสมมี 3 ซ้ำ ๆ ละ 168 ฟอง ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลอง โดยใช้วิธี Duncan's New Multiple Range Test ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ด้านประสิทธิภาพการฟักระยะเวลาการเก็บไข่ฟัก 7 วัน มีเปอร์เซ็นต์การฟักออกจากไข่เข้าฟักทั้งหมดสูงที่สุดมีอัตราการตายของตัวอ่อนระยะแรกเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักไข่ฟักระหว่างการเก็บและระหว่างการฟักต่ำที่สุด (p-0.05) ในขณะที่ไข่ฟักจากไก่ปู่ย่าพันธุ์เนื้ออายุ 30 และ 40 สัปดาห์ มีเปอร์เซ็นต์ ไข่ฟักมีเชื้อและเปอร์เซ็นต์การฟักออกจากไข่เข้าฟักทั้งหมดสูงที่สุด (p<0.05) ส่วนไข่ฟักจากไก่ปู่ย่าพันธุ์เนื้ออายุ 50 สัปดาห์ มีน้ำหนักไข่ฟักก่อนเข้าฟักและเปอร์เซ็นต์ไข่ฟักไม่มีเชื้อสูงที่สุดและมีอัตราการตายของตัวอ่อนระยะแรกเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักไข่ฟักระหว่างการเก็บและระหว่างการฟักต่ำที่สุด (p-0.05) 2) ด้านคุณภาพลูกไก่ พบว่าระยะเวลาการเก็บไข่ฟัก 7 วัน มีคะแนน Pasgar Score สูงที่สุดระยะเวลาการเก็บไข่ฟัก 14 วันมีความยาวลูกไก่เฉลี่ยสูงที่สุดและระยะเวลาการเก็บไข่ฟัก 28 วันมีน้ำหนักลูกไก่แรกเกิดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักลูกไก่แรกเกิดเมื่อเทียบกับน้ำหนักไข่ฟักก่อนเข้าฟักสูงที่สุด (p<0.05) ในขณะที่ไข่ฟักจากไก่ปู่ย่า-พันธุ์เนื้ออายุ 30 สัปดาห์ มีคะแนน Pasgar Score สูงที่สุด ไข่ฟักจากไก่ปู่ย่าพันธุ์เนื้ออายุ 50 สัปดาห์ มีน้ำหนักลูกไก่แรกเกิดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักลูกไก่แรกเกิดเมื่อเทียบกับน้ำหนักไข่ฟักก่อนเข้าฟักและความยาวลูกไก่เฉลี่ยสูงที่สุด (p<0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า (1) ระยะเวลาการเก็บไข่ฟักก่อนเข้าฟัก 7 วัน มีประสิทธิภาพการฟักและคุณภาพลูกไก่สูงที่สุด (2) ไข่ฟักจากไก่ปู่ย่าพันธุ์เนื้อไข่ฟักอายุ 30 และ 40 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพการฟักสูงที่สุดในขณะที่ไข่ฟักจากไก่ปู่ย่าพันธุ์เนื้ออายุ 50 สัปดาห์ มีคุณภาพลูกไก่สูงที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12048
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons