กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1204
ชื่อเรื่อง: | การจัดการเอกสารการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Management of educational quality assurance records of Rajaphat Universities in the Southern Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมสรวง พฤติกุล นัยนา สืบสาย, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สาคร บุญดาว |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เอกสาร--การจัดการ ประกันคุณภาพการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการจัดการเอกสารการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และ (2) ปัญหาการจัดการเอกสารการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ 5 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภูเก็ต ยะลา สงขลา และสุราษฏร์ธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่เลือกคือ คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา และรายงานการประเมินตนเอง พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ. 2553 รวมทั้งหมด จำนวน 50 เล่ม และ ผู้บริหารและบุคลากรที่รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 15 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประมวลและเรียบเรียงสรุปประเด็นสำคัญด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดการเอกสารประกันคุณภาพ มีลักษณะ ดังนี้ คู่มือประกันคุณภาพ ส่วนใหญ่มีลักษณะ คือ จัดพิมพ์เป็นเอกสารเล่มปกพิมพ์สี่สีส่วนต้นมี คำนำ สารบัญ ส่วนเนื้อหา จำแนกเป็นบทครอบคลุมองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ประเมิน และส่วนท้ายเป็นบรรณานุกรม นิยามคำศัพท์ ภาคผนวก รายงานการประเมินตนเอง มีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา แต่ส่วนเนื้อหาเป็นรายงานผลตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ และส่วนท้าย ไม่มีบรรณานุกรม และภาคผนวก ด้านการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา และรายงานการประเมินตนเอง มีการจัดทำใหม่ทุกปี โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ส่วนรายงานการประเมินตนเอง จัดทำโดยมอบหมายแต่ละหน่วยงานจัดทำ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจที่หน่วยรับผิดชอบ ด้านการจัดเก็บเอกสารมีลักษณะดังนี้ เอกสารทั้งสองประเภทจัดเรียงโดยแยกแต่ละประเภทก่อนแล้วเรียงตามลำดับปีที่จัดทำ ใส่กล่องหรือวางบนชั้นเอกสารโดยมีป้ายกำกับที่หน้ากล่องหรือชั้น ด้านการใช้งานเอกสาร ผู้ใช้ส่วนใหญ่ คือ ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพและใช้เพื่อการบริหารและการปฏิบัติงาน ไม่มีระบบการควบคุมเอกสาร ไม่มีการกำหนดอายุการเก็บเอกสารและไม่เคยมีการทำลายเอกสาร รวมทั้งไม่มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบการดูแลรักษาเอกสารโดยเฉพาะ (2) ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเอกสารประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎภาคใต้ที่สำคัญคือ ไม่มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ ไม่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการจัดการเอกสารประกันคุณภาพ ทำให้มีปัญหาการจัดทำ การจัดเก็บควบคุม ดูแลรักษา และการใช้งานเอกสาร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1204 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (8).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License