กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12050
ชื่อเรื่อง: ปัญหาความเป็นอิสระในการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบภายใต้ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems on independence in appointing audit committees under The Securities and Exchange Act, B.E.2535 (1992) and The Public Limited Companies Act, B.E. 2535 (1992)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธำรงค์ ชิวชาวนา, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
คณะกรรมการตรวจสอบ--การคัดเลือกและการแต่งตั้ง
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทฤษฎีและแนวคิดของการมีกรรมการตรวจสอบของบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) ศึกษาความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียน (3) ศึกษากฎหมาย กฎระเบียบ กฎบัตร ข้อบังคับ และแนวทางการปฏิบัติที่ดีของกรรมการตรวจสอบ (4) ศึกษาเปรียบเทียบความเป็นอิสระในการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบตามกฎหมาย กฎระเบียบ กฎบัตร ข้อบังคับและแนวทางการปฏิบัติที่ดีของสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทย (5) วิเคราะห์ สรุป ปัญหาความเป็นอิสระของกรรมการตรวจสอบเพื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมต่อพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารโดยศึกษาจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 กฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎบัตร แนวทางปฏิบัติที่ดีในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทมหาชน บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ ของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบซึ่งในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยจะทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องความเป็นอิสระของการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบของบริษัทมหาชนซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบจะต้องมีความเป็นอิสระ เพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะตามทฤษฎีผู้มีส่วนได้เสียของมหาชน โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะทำหน้าที่ตรวจสอบการจัดการของผู้บริหารของบริษัทมหาชน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบจะต้องเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการบริหารของบริษัท (3) กระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบต้องแต่งตั้งจากผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ วิชาชีพในการกำกับของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ และสภาคณะกรรมการบริษัทไทย (4) จากการศึกษา เปรียบเทียบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น พบว่าคณะกรรมการตรวจสอบในประเทศดังกล่าว สามารถทำหน้าที่อย่างอิสระได้โดยแยกการทำงานออกมา ไม่อยู่ภายใต้สังกัดของบริษัทจดทะเบียน (5) การแก้ไข พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดนั้นเสนอให้แก้ไขบทนิยาม คุณสมบัติและกำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร กำหนดกระบวนการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบโดยต้องให้ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งต้องลงทะเบียนวิชาชีพกรรมการตรวจสอบภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสภาคณะกรรมการบริษัทไทย รวมทั้งการเพิ่มโทษกรรมการที่ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons