กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1205
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการจัดการเอกสารสิ้นกระแสการปฏิบัติงาน ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of the inactive records management system at The office of the Secretariat of the House of Representatives
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมสรวง พฤติกุล
จันทรา นาคทับทิม, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กฤติกา จิวาลักษณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สภาผู้แทนราษฎร
เอกสารการประชุม--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพเอกสารและการจัดการเอกสารสิ้นกระแสการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ (2) พัฒนาระบบจัดการเอกสารสิ้นกระแสการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475– พ.ศ.2550 จ านวน 1,051 เล่ม ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2540- พ.ศ. 2550 จำนวน 160 เล่ม ผู้บังคับบัญชา จำนวน 2 คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดการเอกสารสิ้นกระแสการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีดังนี้ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2550 และระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2540-พ.ศ.2550 ทั้งหมดจัดทำเป็ นเอกสารเล่มด้วยการเข้าเล่มให้มีขนาดที่เหมาะสม ที่หน้าปกและสันปกพิมพ์ชื่อเรื่อง ครั้งที่และปี ของการประชุม เฉพาะรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475– พ.ศ. 2550 ทุกเล่มกำหนดหมายเลขประจำเล่มเรียงลำดับตั้งแต่เล่มแรก คือ หมายเลข 1 การจัดเก็บเอกสารทั้งสองประเภท พบว่า รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ่ 2475– พ.ศ. 2550 จัดเรียงตามหมายเลขในตู้เลื่อน ซึ่งตั้งแยกจากพื้นที่ที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ และไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการจัดเก็บเอกสาร มีการควบคุมเอกสารด้วย “บัญชีเอกสาร” ส่วนระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2550 เก็บแต่ละเล่มเรียงตามลำดับปี และครั้งที่ประชุมในตู้เหล็กสองบานและตู้ไม้ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของห้องเก็บเอกสารราชการของสำนักการประชุม ไม่มีการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร และยังไม่เคยมีการทำลายเอกสารทั้งสองประเภท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการ ประชุมสภาสามารถใช้งานเอกสารได้ โดยขออนุญาตจากหัวหน้ากลุ่มงาน สำหรับบุคคลภายนอกต้องทำหนังสือขออนุญาต และกรอกแบบฟอร์มการขอใช้บริการผ่านกลุ่มงานข้อมูลข่าวสาร สำนักบริหารงานกลาง (2) จากผลการวิจัยและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชา และผู้ปฏิบัติงาน สามารถพัฒนาระบบจัดการเอกสารสิ้นกระแสการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรโดยใช้การจัดการเชิงระบบเป็นกรอบ ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า ได้แก่การกำหนดนโยบาย หน่วยงานและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน พื้นที่จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี มีการจัดสรรให้เหมาะสมและเพียงพอ มีกระบวนการโดยยึดตามหลักการจัดการเอกสารตั้งแต่ การจัดทำ การควบคุม การจัดเก็บ การดูแลรักษาความปลอดภัย การใช้งานเอกสาร การกำจัดเอกสาร และผลลัพธ์ คือ มีระบบและเอกสารที่ผ่านกระบวนการแล้วมีความครบถ้วนสมบูรณ์ น่าเชื่อถือและ นำมาใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1205
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (9).pdfเอกสารฉบับเต็ม22.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons