กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12062
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relationship between job motivation and work happiness of university academic support staff at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา ฐปกร รัศมี, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน การจูงใจในการทำงาน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (2) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 150 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้ 109 คน ด้วยสูตรของทาโรยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจในการทำงานทั้ง 13 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความสุขในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความสุขในการทำงาน พบว่า ปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจกับความสุขในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (3) มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ โดยการสร้างความพึงพอใจในการทำงานให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของพนักงาน รวมถึงทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานมีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของตนเองและองค์การ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12062 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License