Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12064
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริการสาธารณะเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Factors relating public service efficiency of Pako Sub-district Municipality at Kut Chab District in Udon Thani Province
Authors: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุลือชา อาณารัตน์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบาลตำบลปะโค--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
บริการสาธารณะท้องถิ่น--ไทย--อุดรธานี
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมของเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริการสาธารณะเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับประสิทธิภาพการบริการสาธารณะเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี และ(4) ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ในเขตเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษา คือ ประชากรที่มีภูมิลำเนาที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 7,501 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 380 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งสัดส่วนและแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมของเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ในภาพรวมของประสิทธิภาพการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับประสิทธิภาพการบริการสาธารณะเทศบาลตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี มีอย่างน้อย 3 ปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง และ (4) ปัญหาสำคัญที่พบคือ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในภายนอกยังไม่รัดกุม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะมีน้อยทำให้ประสิทธิภาพการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนยังน้อยกว่าที่ควร ข้อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ คือ ควรเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการตอบสนองความต้องการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12064
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons