กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1206
ชื่อเรื่อง: อัตลักษณ์ไทยพวน : กรณีศึกษาไทยพวน ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Identity of Thai Phuan : a case study of BanKluay Sub-district Thai Phuan, Ban Mi Sub-district, Lop Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดจิต เจนนพกาญจน์
วรา ชาภูคำ, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ไพฑูรย์ มีกุศล
สุวิทย์ ไพทยวัฒน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
พวน--ความเป็นอยู่และประเพณี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี (2) อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี (3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมที่มีผลต่ออัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ของไทยพวนตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี (4) แนวทางในการสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทยพวนตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ให้ดำรงอยู่สืบไป วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รู้และผู้นำในหมู่บ้าน จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่สภาวัฒนธรรมประจำตำบลบ้านกล้วย และสภาวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี จำนวน 3 คน พระจำนวน 2 รูป ชาวบ้านตำบลบ้านกล้วย จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 25 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก และแบบสำรวจชุมชน แบบสังเกตไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของชาติพันธุ์ไทยพวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว พูดภาษาตระกูลไท-กะได ซึ่งอพยพมาจากเมืองพวน แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 4 ครั้งด้วยกัน ส่วนการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกล้วยได้อพยพเข้ามา เมื่อ พ.ศ. 2303 โดยมีท้าวสนั่นเป็นหัวหน้า (2) อัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ประกอบด้วย การประกอบอาชีพ การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย การถนอมอาหาร การรักษาโรค อัตลักษณ์ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ประกอบด้วย การเกิด การแต่งงาน การตาย ด้านประเพณีงานบุญต่างๆ อัตลักษณ์ด้านศักยภาพของกลุ่มของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อัตลักษณ์ด้านศักยภาพของกลุ่มองค์กรทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน เช่น อัตลักษณ์วัฒนธรรม การประกอบอาชีพทอผ้า และการถนอมอาหารมีปลาส้มฟัก เป็นสินค้า “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นต้น (3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่ออัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ประกอบด้วย ครอบครัว กลุ่มสังคม ชุมชน ชนชั้น สหจร เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมที่มีผลต่อสถาบันทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ประกอบด้วย สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันทางการเมือง สถาบันภาษา สถาบันศาสนา สถาบันนันทนาการ สถาบันการอนามัย สถาบันการคมนาคม สถาบันทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่ออัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน กลุ่มสังคมดั้งเดิมเป็นกลุ่มแบบเครือญาติมีการพึ่งพาอาศัยกัน ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มโดยรัฐ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้านทอผ้า เป็นต้น (4) การสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ของไทยพวนด้วยการส่งเสริมเผยแพร่ และการอนุรักษ์ให้ดำรงอยู่สืบไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1206
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (10).pdfเอกสารฉบับเต็ม36.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons