กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12083
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems on imposition of criminal penalties to under the building control act
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พีรวิชญ์ ฉายวิเชียร, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
อาคาร--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กระบวนการกำหนดโทษคดีอาญา--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและวิวัฒนาการควบคุมอาคารทฤษฎีการลงโทษทางอาญา ตลอดจนวัตถุประสงค์การลงโทษทางอาญา (2) ศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมอาคารของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาถึงปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ (4) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร จากหนังสือ ตำรา บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ผลการศึกษา พบว่า (1) แนวคิดและวิวัฒนาการควบคุมอาคารมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งต่อมาได้มีการตราเป็นกฎหมายโดยมีโทษทางอาญากำหนดไว้ ที่มุ่งลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงโทษทางอาญา (2) ปัจจุบันประเทศไทยได้บังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่วัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยของอาคาร ซึ่งมีการกำหนดความผิดและโทษทางอาญา นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติอาคาร ค.ศ. 2004 (Building Act 2004) ของประเทศนิวซีแลนด์ และพระราชบัญญัติอาคาร ค.ศ. 1984 (Building Act 1984) ของสหราชอาณาจักรที่บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความปลอดภัยของอาคาร โดยมีการกำหนดความผิดและโทษทางอาญาเช่นเดียวกันประเทศไทย (3) จากการศึกษาพบปัญหาการกำหนดโทษอาญาที่ไม่เหมาะสม ขาดความสอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เกิดประสิทธิภาพ (4) การกำหนดโทษปรับไม่เหมาะสมกับการบังคับใช้กับนิติบุคคลที่กระทำความผิด ควรเพิ่มเติม มาตรา 72 วรรคสอง กำหนดให้นิติบุคคลที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องระวางโทษปรับเป็นห้าเท่าของโทษสำหรับความผิดนั้น ๆ และการกำหนดโทษจำคุกระยะสั้นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ไม่มีลักษณะตามเหตุผลที่จำเป็นต้องใช้โทษจำคุก และไม่ส่งผลให้บรรลุวัตถุประสงค์การลงโทษทางอาญา จากการศึกษาพระราชบัญญัติอาคาร ค.ศ. 2004 (Building Act 2004) กฎหมายประเทศนิวซีแลนด์นั้นให้ความสำคัญกับโทษปรับมากกว่าที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดนั้นมาลงโทษจำคุก จึงควรยกเลิกโทษจำคุก กำหนดโทษปรับเท่านั้น การกำหนดอัตราค่าปรับไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน จากการศึกษากฎหมายประเทศนิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร (Building Act 1984) ต่างก็กำหนดอัตราโทษปรับในอัตราที่สูง ต้องแก้ไขปรับปรุงอัตราโทษปรับจากหนึ่งพันบาท เป็นหนึ่งหมื่นบาท การใช้อำนาจเจ้าพนักงานในการเปรียบเทียบปรับไม่มีความชัดเจนส่งผลให้เกิดการใช้ดุลพินิจที่ขาดหลักเกณฑ์ ที่แน่นอน จึงควรกำหนดกรอบการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการเปรียบเทียบปรับให้มีความชัดเจน และกฎหมายไม่ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยอาคารขนาดเล็กที่ได้มีการดัดแปลงต่อเติมเพื่อนำไปประกอบธุรกิจ ควรเพิ่มเติม มาตรา 32 ทวิ ในอนุมาตรา 4 ข้อความว่า อาคารขนาดเล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้งาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12083
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons