กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12086
ชื่อเรื่อง: การกำหนดความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Criminalization of sexual harassment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัณณวิช ทัพภวิมล
ปิยพร ลีลาวิลาสชัย, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การคุกคามทางเพศ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ความเป็นมา ลักษณะ และทฤษฎีของการกระทำที่เป็นการคุกคามทางเพศ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุกคามทางเพศในประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเครือรัฐออสเตรเลีย (3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในประเทศไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและเครือรัฐออสเตรเลีย และ (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยจากเอกสาร ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายของประเทศไทย กฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเครือรัฐออสเตรเลีย และกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงหนังสือ บทความ วารสาร เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเอกสารข้างต้น เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) มีแนวคิดที่สาคัญว่าการคุกคามทางเพศถือเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน (2) กฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้แก่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและเครือรัฐออสเตรเลียต่างก็มีกฎหมายที่บังคับใช้เรื่องการคุกคามทางเพศ (3) กฎหมายไทยโดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ยังมีปัญหาหลายประการ ได้แก่ ไม่มีคำนิยามของการกระทำความผิดดังเช่นกฎหมายต่างประเทศ การบัญญัติความผิดให้อยู่ในภาค 3 ลหุโทษแห่งประมวลกฎหมายอาญา อัตราโทษที่ต่ำเกินไปเมื่อเปรียบเทียบอัตราโทษที่มีกำหนดไว้ในกฎหมายต่างประเทศ และการที่กฎหมายแต่ละฉบับคุ้มครองการคุกคามทางเพศในกรณีแตกต่างกันไป และ (4) มีข้อเสนอแนะให้แก้ไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 โดยกำหนดคำนิยามของคำว่าการคุกคามทางเพศให้ชัดเจน กำหนดให้การคุกคามทางเพศเป็นความผิดโดยกำหนดในภาค 2 ความผิดเรื่องความผิดเกี่ยวกับเพศแห่งประมวลกฎหมายอาญา และนำบทเพิ่มโทษเรื่องความผิดเกี่ยวกับเพศมาใช้บังคับด้วย กำหนดอัตราโทษให้สูงขึ้นตามความเหมาะสม และกำหนดเหตุเพิ่มโทษของการคุกคามทางเพศให้ครอบคลุมกรณีต่าง ๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12086
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons