Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12098
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนตามมาตรา 69/1 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 |
Other Titles: | Legal issues on the diversion of juvenile offenders from the criminal justice procedure by inquiry officials under article 69/1 of the Juvenile and Family Court and Procedure Act B.E. 2553 |
Authors: | ปวินี ไพรทอง ดวงพร วิสุวรรณ, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การกระทำความผิดอาญาของเยาวชน พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด (2) ศึกษาหลักเกณฑ์กฎหมายที่เกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนของประเทศไทย และกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษ (3) วิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเขาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนของประเทศไทยประกอบการวิเคราะห์กับกฎหมายของประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยพนักงานสอบสวนตามมาตรา 69/1 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ให้ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากบทบัญญัติของกฎหมาย ตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ คำพิพากษา ความเห็นทางกฎหมาย เว็บไซต์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษ ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดนั้นมีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูมากกว่าการลงโทษแก้แค้นทดแทน (2) ประเทศไทย ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษต่างมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวน (3) กฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนของไทยมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของนิวซีแลนด์และอังกฤษ ได้แก่ บทบาทของพนักงานสอบสวนในการใช้ดุลพินิจเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การกำหนดบุคคลที่สามารถได้รับการเบี่ยงเบนคดี การกำหนดประเภทคดีที่สามารถได้รับการเบี่ยงเบนคดี การกำหนดจำนวนครั้งที่กระทำความผิด ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการเบี่ยงเบนคดี การกำหนดวิธีการในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายของผู้กระทำความผิด (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก และเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนตามมาตรา 69/1 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยกำหนดให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถใช้ดุลพินิจในการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญามากขึ้น กำหนดให้ผู้กระทำผิดที่เป็นเยาวชนสามารถได้รับการเปี่ยงเบนคดีได้ด้วย แก้ไขประเภทคดีให้ รวมถึงคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปีสามารถได้รับการเบี่ยงเบนคดี ไม่นำจำนวนครั้งของการกระทำผิดมาเป็นเงื่อนไขของการเบี่ยงเบนคดี และให้อำนาจพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานอื่นสามารถเลือกใช้วิธีการจัดการกับผู้กระทำผิดได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนแต่ละราย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12098 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License