Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12098
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวินี ไพรทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorดวงพร วิสุวรรณ, 2533--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-05-31T03:07:56Z-
dc.date.available2024-05-31T03:07:56Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12098-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด (2) ศึกษาหลักเกณฑ์กฎหมายที่เกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนของประเทศไทย และกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษ (3) วิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเขาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนของประเทศไทยประกอบการวิเคราะห์กับกฎหมายของประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยพนักงานสอบสวนตามมาตรา 69/1 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ให้ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากบทบัญญัติของกฎหมาย ตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ คำพิพากษา ความเห็นทางกฎหมาย เว็บไซต์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษ ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดนั้นมีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูมากกว่าการลงโทษแก้แค้นทดแทน (2) ประเทศไทย ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษต่างมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวน (3) กฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนของไทยมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของนิวซีแลนด์และอังกฤษ ได้แก่ บทบาทของพนักงานสอบสวนในการใช้ดุลพินิจเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การกำหนดบุคคลที่สามารถได้รับการเบี่ยงเบนคดี การกำหนดประเภทคดีที่สามารถได้รับการเบี่ยงเบนคดี การกำหนดจำนวนครั้งที่กระทำความผิด ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการเบี่ยงเบนคดี การกำหนดวิธีการในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายของผู้กระทำความผิด (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก และเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนตามมาตรา 69/1 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยกำหนดให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถใช้ดุลพินิจในการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญามากขึ้น กำหนดให้ผู้กระทำผิดที่เป็นเยาวชนสามารถได้รับการเปี่ยงเบนคดีได้ด้วย แก้ไขประเภทคดีให้ รวมถึงคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปีสามารถได้รับการเบี่ยงเบนคดี ไม่นำจำนวนครั้งของการกระทำผิดมาเป็นเงื่อนไขของการเบี่ยงเบนคดี และให้อำนาจพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานอื่นสามารถเลือกใช้วิธีการจัดการกับผู้กระทำผิดได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนแต่ละรายth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการกระทำความผิดอาญาของเยาวชนth_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยพนักงานสอบสวนตามมาตรา 69/1 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553th_TH
dc.title.alternativeLegal issues on the diversion of juvenile offenders from the criminal justice procedure by inquiry officials under article 69/1 of the Juvenile and Family Court and Procedure Act B.E. 2553en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study were (1) to study the concepts, theories, and basic principles of criminal prosecution against juvenile offenders; (2) to study the law relating to the diversion of juvenile offenders from the criminal justice procedure by Thailand's inquiry officials and laws in foreign countries which are New Zealand and England; (3) to analyze the provisions of diversion of juvenile offenders from the criminal justice procedure by Thailand's inquiry officials, and analysis with laws of New Zealand and England; and (4) to propose a guideline for the amendment of law on the diversion of juvenile offenders from the criminal justice procedure by inquiry officials under Section 69/1 of the Juvenile and Family Court and Procedure Act B.E. 2553 to be clearer and more efficiency. This independent study was a qualitative research conducted by means of documentary research from legal provisions, legal texts, academic articles, judgments, legal opinions, websites, and other relevant documents, in Thailand, New Zealand and England. The result of the study were: (1) the concepts, theories, and basic principles on the criminal prosecution against juvenile offenders are intended to rehabilitate rather than punish or retaliate; (2) the laws of Thailand, New Zealand, and England have the provisions on the diversion of juvenile offenders from the criminal justice procedure by inquiry officials; (3) the law on the diversion of juvenile offenders from the criminal justice procedure by Thailand’s inquiry officials is quite limited when comparing to the laws of New Zealand and England, such as the role of inquiry officials in using their discretion to divert juvenile offenders away from the criminal justice procedure, determining who can obtain a case diversion program, determining the type of case that can be under the diversion program, determining the number of offenses as a condition of case diversion, determining methods for the correction and rehabilitation of unlawful behavior of the offender; (4) the study therefore proposed a guideline for amending the law on the diversion of juvenile offenders away from the criminal justice procedure by inquiry officials under Section 69/1 of the Juvenile and Family Court and Procedure Act B.E. 2553 such as giving more power to the inquiry officials in using their discretion on the diversion of juvenile offenders away from the criminal justice procedure, allowing juvenile offenders to be diverted, amending the type of case to include cases in which a maximum prison sentence of up to three (3) years can be diverted, not applying the number of offenses as a condition of case diversion, and empowering inquiry officials or other officials to choose more methods in dealing with offenders to suit the behavior and offense of each juvenileen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons