กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12109
ชื่อเรื่อง: | การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The use and gratification of Bangkok Gen Y group on Facebook Live exposure |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยฉัตร ล้อมชวการ ศรุดา ธีระศักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ความพอใจ สื่อสังคมออนไลน์ การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y 2) การใช้ประโยชน์ในการรับชมเฟซบุ๊คไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y 3) ความพึงพอใจในการรับชม เฟซบุ๊คไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y 4) เปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่ม Gen Y ที่มีอายุ 18 - 37 ปี หรือเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2524- 2543 ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของฟิชเชอร์ และการทดสอบค่าไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่มGen Y ด้านความถี่ต่อเดือน 1-5 ครั้ง ด้านระยะเวลาต่อครั้ง น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ด้านช่วงเวลาในการรับชม ได้แก่ 18.01-00.00 น. ด้านสถานที่ในการรับชมคือ ที่บ้าน และด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับชม ได้แก่ สมาร์ทโฟน/โทรศัพท์มือถือ2) การใช้ประโยชน์ในการรับชมเฟซบุ๊คไลฟ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ความพึงพอใจในการรับชมเฟซบุ๊คไลฟ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) การเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y พบว่า กลุ่ม Gen Y ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีการใช้ประโยชน์ในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .055) การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y พบว่า กลุ่ม Gen Y ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความพึงพอใจในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 6) ลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการรับชมเฟซบุ๊กไลฟ์ของกลุ่ม Gen Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12109 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159566.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License