กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1210
ชื่อเรื่อง: การฟ้อนผีฟ้าของชาวบ้านฝอยลม ตำบลท่าดอกคำ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Phi Fa Dance of Foi Lom village, Tha Dok Kham Sub-district, Bueng Khong Long District, Bueng Kan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรา วีรบุรีนนท์
นฤมล วสันต์, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การรำ--ไทย--บึงกาฬ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการฟ้อนผีฟ้าของชาวบ้านฝอยลม ตำบลท่าดอกคำ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและพิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้าของชาวบ้านฝอยลม (2) พิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้า (3) การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้า (4) แนวทางในการอนุรักษ์พิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้าวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสำรวจชุมชน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้รู้จำนวน 5 คน ผู้ประกอบพิธีกรรม จำนวน 5 คน ผู้นำท้องถิ่น จำนวน 5 คน บริวารลูกศิษย์และประชาชน จำนวน 15 คน รวม 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) บ้านฝอยลมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่อพยพมาจาก อำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.2425 ส่วนพิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้าของชาวบ้านฝอยลม สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมาตั้งแต่เมื่อแรกตั้งหมู่บ้าน (2) พิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้าของชาวบ้านฝอยลมมี 2 รูปแบบ คือ 1) การฟ้อนเพื่อรักษาคนป่วย ซึ่งสามารถประกอบพิธีได้ทุกวันยกเว้นวันพระ 2) พิธีกรรมการเลี้ยงข่วงผีฟ้าประจำปี จะประกอบพิธีในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 และวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 (3) การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้าของชาวบ้านฝอยลม พบว่า พิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้ารักษาโรคมีการเปลี่ยนแปลงด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ส่วนพิธีกรรมการเลี้ยงข่วงผีฟ้าประจำปีมีการเปลี่ยนแปลง ด้านองค์ประกอบ ด้านขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมและด้านคติความเชื่อ (4) แนวทางในการอนุรักษ์พิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้าของชาวบ้านฝอยลม มี 6 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการสืบทอดการเป็นแม่หมอหรือครูบาใหญ่ แนวทางการเรียนรู้ของแม่หมอ แนวทางการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนจากผู้นำท้องถิ่น แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน แนวทางการให้ความร่วมมือจากลูกหลาน และแนวทางประกาศยกย่องให้เป็นครูภูมิปัญญาชาวบ้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1210
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (14).pdfเอกสารฉบับเต็ม42.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons