กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12113
ชื่อเรื่อง: คู่มือการจัดการธุรกิจตู้เพลงคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Karaoke jukebox coin business management manual
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชณู น่วมปฐม, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ธุรกิจ--การจัดการ
คาราโอเกะ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการธุรกิจคู่เพลงคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญ วิธีการศึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการจัดทำคู่มือ โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจาก เอกสาร รายงาน กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องต่างๆ และจากประสบการณ์จริงมาประกอบการจัดทำคู่มือ ผลการศึกษาได้แนวทางการจัดการธุรกิจคู่เพลงคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญ และได้จัดทำเป็นคู่มือ การจัดการธุรกิจคู่เพลงคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาทั้งสิ้น 7 บท โดยบทที่ 1 กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของธุรกิจคาราโอเกะ โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น และเข้าสู่ประเทศไทย โดยประมาณ พ.ศ. 2520 ทั้งนี้ วิวัฒนาการเทคโนโลยีคาราโอเกะเริ่มตั้งแต่เครื่องเล่นซีเควนเซอร์ เครื่องเล่นวิซีดี เครื่องเล่นระบบฮาร์ดดิสค์ และเครื่องเล่นเอ็มพีสาม บทที่ 2 สภาพแวดล้อมของตลาดคาราโอเกะมีการ เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันของคู่แข่งขันในตลาดค้า จุดแข็งของธุรกิจคือ ระยะเวลาคนทุนเร็ว และ จุดอ่อนของธุรกิจคือความเข้มงวดของกฎหมายที่ควบคุมการเปิด-ปิดของสถานบันเทิงการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และสัญญาเช่าคู่เพลงคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญ บทที่ 3 การเลือกทำเลที่ตั้งควร เลือกลักษณะทำเล ดังต่อไปนี้ เป็นแหล่งรวมสถานบันเทิง หรือชุมชนบริเวณนั้นมีคู่เพลงคาราโอเกะน้อยมาก หรือไม่มีเลย หรือร้านอาหารที่มีลูกค้าแน่นร้านเนื่องจากอาหารอร่อย การบริการดี หรือชุมชนที่มีโรงงาน แหล่ง แรงงาน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายธุรกิจคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญ ได้แก่ คู่ใช้แรงงาน จนถึงผู้รายได้ระดับปาน กลาง เป็นลูกค้าที่ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ พบปะสังสรรค์ ชอบร้องและฟังเพลงคาราโอเกะ บทที่ 4 ราคา อุปกรณ์ การซ่อมบำรุง สถานที่จำหน่าย คู่เพลงคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญ ต้องพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญ คือ 1) กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อเลือกชนิดเครื่องเล่นคาราโอเกะ 2) การตั้งงบประมาณเครื่องเล่นคาราโอเกะก่อนตัดสินใจ ซื้อเนื่องจากเครื่องเล่นคาราโอเกะตามท้องตลาดมีราคาแตกต่างกันมาก และ 3) การบริการหลังการขาย บทที่ 5 งบประมาณ และรายได้ การทำธุรกิจคู่คาราโอเกะแบบหยอดเหรียญมี 3 รูปแบบ 1) ซื้อขาดเป็นเงินสด 2) เช่าราย เดือน และ 3) วางตู้เพลงแบ่งเปอร์เซ็นต์รายได้ บทที่ 6 กลยุทธ์การจัดการธุรกิจตู้เพลงคาราโอเกะแบบหยอด เหรียญเป็นการผสมผสานระหว่างกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง และกลยุทธ์มุ่งเจาะจงตลาด หรือเน้นส่วนตลาด บทที่ 7 สรุปและข้อเสนอแนะ คู่สนใจลงทุนในธุรกิจคู่เพลงคาราโอเกะแบบหยอดเหรียญควรศึกษาข้อมูลที่อยู่ใน รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระเล่มนี้ทั้งหมด พร้อมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีคู่เพลง คาราโอเกะแบบหยอดเหรียญ การจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลงของค่ายต่างๆ กฎหมายเกี่ยวกับสถานบันเทิงคาราโอเกะ และ การแบ่งผลประโยชน์รายได้ระหว่างเจ้าของตู้เพลงคาราโอเกะ กับเจ้าของร้านอาหาร เพื่อให้ผู้สนใจลงทุนสามารถ นำหลักปฎิบัติในการจัดการดำเนินงานในคู่มือเล่มนี้มาช่วยประกอบในการตัดสินใจ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12113
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
133781.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons