กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12121
ชื่อเรื่อง: คู่มือวัยเก๋ารู้เท่าทันสื่อออนไลน์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Online media literacy manual for senior citizen
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ส่องแสง ศรีหมื่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อินเทอร์เน็ตกับผู้สูงอายุ
การรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ ออนไลน์แก่ผู้สูงอายุ โดยมีกระบวนการจัดทำ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดวัตถุประสงค์การทำคู่มือ 2) ศึกษาแนวทางการจัดทำคู่มือ 3) เลือกเนื้อหารู้เท่าทันสื่อออนไลน์ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 4) ตรวจสอบ เนื้อหาที่เลือกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5) เขียนเนื้อหาและออกแบบคู่มือ และ 6) ทดลองใช้คู่มือ การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการผลิตต้นแบบชิ้นงานประเภทหนังสือคู่มือ โดยใช้ชื่อว่า "คู่มือวัยเก๋ารู้เท่าทันสื่อออนไลน์" เนื้อหาคู่มือฯ ประกอบด้วย 1) เรื่องการรู้เท่าทันข่าวปลอม คือการรู้เท่า ทันข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วยเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริง แต่มีรูปแบบการสื่อสารที่ชักจูงใจให้ผู้ใช้สื่อออนไลน์ หลงเชื่อ 2) การรู้เท่าทันข้อมูลสุขภาพในสื่อออนไลน์ คือการรู้เท่าทันข้อมูลสุขภาพที่โอ้อวดสรรพคุณเกิน จริง ขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและหวังผลทางธุรกิจ 3) การรู้เท่าทันโฆษณาออนไลน์ คือการรู้เท่าทันสื่อ โฆษณาที่ทำการตลาดทางอินเทอร์เน็ต มักดึงดูดใจผู้บริโภคด้วยการออกแบบสื่อที่หลากหลาย 4) การรู้เท่า ทันข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์ คือการรู้เท่าทันและการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามไซเบอร์ที่มิจฉาชีพ มักเลือกเหยื่อจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์ และ 5) การรู้เท่าทันการฉ้อโกงในสื่อ ออนไลน์ คือการระวังตัว ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพที่ใช้สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือหลอกลวง โดยผู้ศึกษาได้ ทดลองใช้คู่มือฯ กับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและมีการใช้สื่อออนไลน์วันละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง จำนวน 18 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มและการทำแบบทดสอบ เครื่องมือการทดสอบ ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบก่อนและหลังอ่านคู่มือฯ 2) ใบงานกิจกรรมสนทนากลุ่ม และ3) แบบ ประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการทดลองใช้คู่มือฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อคู่มือ "วัยเก๋ารู้เท่าทันสื่อ ออนไลน์" ในระดับดี ส่วนด้านการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์พบว่า คู่มือฯ มีส่วนสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ออนไลน์แก่ผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่าน คู่มือมาคิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารในสื่อออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12121
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161318.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons