กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12127
ชื่อเรื่อง: | การศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ของสวนเพชร ริเวอร์วิว รีสอร์ท |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of the public relations communication process of Suanpetch River View Resort |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร สุภิสาข์ มัยขุนทด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สวนเพชร ริเวอร์วิว รีสอร์ท การประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร--การจัดการ การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การค้นคว้าอิสระเรื่องการศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ของ สวนเพชร ริเวอร์วิว รีสอร์ท มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบด้านการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ 2) การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ด้านประชาสัมพันธ์ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการประชาสัมพันธ์ของ สวนเพชร ริเวอร์วิว รีสอร์ท การค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยผู้ก่อตั้งและผู้บริหารสวนเพชร ริเวอร์วิว รีสอร์ท จำนวน 5 คน และลูกค้าสวนเพชร ริเวอร์วิวรีสอร์ท จำนวน 6 คน รวมทั้งหมด 11 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบด้านการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ของ สวนเพชร ริเวอร์วิว รีสอร์ท มีกระบวนการทำงานที่ไม่เสริมสร้างให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกล่าวคือ ผู้ส่งสารขาดความรู้ทักษะด้านการสื่อสาร เนื้อสารขาดความน่าสนใจ ช่องทางการสื่อสาร ไม่มีประสิทธิภาพ และผู้รับสารได้รับสารไม่ตรงตามความต้องการ 2) การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ พบว่า ขาดการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การใช้ข้อความและเครื่องมือไม่น่าสนใจ ขาดการนำแผนการประชาสัมพันธ์ไปใช้ และขาดการประเมินผลการประชาสัมพันธ์ที่วัดผลได้ 3) ปัญหาและอุปสรรค พบว่า ด้านผู้ส่งสารขาดความรู้และทักษะการประชาสัมพันธ์ ด้านช่องทางสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถเข้ากลุ่มเป้าหมายหลักได้ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ไม่มีความชัดเจน ทำให้ระบบการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการประเมินทำให้ไม่สามารถรู้จุดบกพร่องในการประชาสัมพันธ์ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางด้านการประชาสัมพันธ์ คือ การพัฒนาบุคลากร การปรับเนื้อหาด้านการประชาสัมพันธ์ การเลือกใช้สื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้ครบขั้นตอน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12127 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
154875.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License