กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12139
ชื่อเรื่อง: | การประชาสัมพันธ์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Public relations of the National Intelligence Agency |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ สุพิชฌาย์ คำไพเราะ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สำนักข่าวกรองแห่งชาติ--การประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการประชาสัมพันธ์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ 2) กระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยการเลือกแบบเจาะจงจาก ผู้รับผิดชอบด้านการประชาสัมพันธ์ในระดับนโยบาย จำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ พรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สำนักข่าวกรองแห่งชาติไม่มีนโยบาย แผนงานการประชาสัมพันธ์เป็นลายลักษณ์อักษร การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรดำเนินการด้วยความต้องการของฝ่ายบริหาร โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ ลดความขัดแย้งและสร้างความสามัคคีภายในองค์กร การประชาสัมพันธ์ภายนอกมุ่งสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในด้านความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งไม่สามารถดำเนินการประชาสัมพันธ์ได้ทุกภารกิจ การขาดแคลนทรัพยากรการประชาสัมพันธ์ที่เด่นชัดคือไม่มีบุคลากรระดับใดที่มีความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือการประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติงาน งานประชาสัมพันธ์อยู่ในส่วนประชาสัมพันธ์สังกัดฝ่ายอำนวยการ มีงานอยู่ 3 ฝ่าย คือฝ่ายพิธีการ ฝ่ายประชุม ฝ่ายประชาสัมพันธ์การข่าว ซึ่งมีบุคลากร 5 คน รับผิดชอบทั้งการประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์กร โดยงานด้านการประชาสัมพันธ์กระจัดกระจายไปอยู่ตามสำนักต่างๆ ส่งผลให้งานด้านการประชาสัมพันธ์ยังไม่เป็นเอกภาพ 2) กระบวนการประชาสัมพันธ์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติมีการรับฟังความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการ มีการวางแผนโครงการสำหรับการประชาสัมพันธ์ภายนอกมีการสื่อสารด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อใหม่ สื่อกิจกรรม และมีการประเมินอย่างไม่เป็นทางการและเป็นทางการ 3) แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ (1) กำหนดนโยบายการประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้อง กับภารกิจขององค์กร (2) กำหนดวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์เพื่อมุ่งสร้างภาพลักษณ์และเผยแพร่ ผลงาน (3) พัฒนาการประชาสัมพันธ์โดยมุ่งเน้นความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นสากล (4) กำหนดแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (5) สร้างระบบเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และ (6) พัฒนาทรัพยากรด้านการประชาสัมพันธ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12139 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159201.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License