กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12142
ชื่อเรื่อง: การผลิตสปอตวิทยุกระจายเสียงต้นแบบชุด "วิกฤต...ชีวิตถูกทอดทิ้งยามชรา"
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production of the radiro spot model "Crisis...Life of Abandoned Elderly"
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิราภรณ์ สุวรรณวาจกกสิกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนงค์ ศุภภิญโญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วิทยุกระจายเสียง
รายการวิทยุ--การผลิตและการกำกับรายการ
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การผลิตสปอตวิทยุกระจายเสียงต้นแบบชุด "วิกฤติ ... ชีวิตถูกทอดทิ้งยามชรา" มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตและพัฒนา สปอตวิทยุเพื่อการรณรงค์ผู้สูงอายุ "วิกฤติ ... ชีวิตถูกทิ้งยาม ชรา" และ 2) เผยแพร่ สปอตวิทยุกระจายเสียงต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ผู้สูงอายุในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุให้กับประชาชนในจังหวัดพะเยา ผู้ศึกษาได้ผลิตสปอตวิทยุกระจายเสียงต้นแบบ จำนวน 7 ชิ้นงาน ประกอบด้วย (1) หนี ไม่พ้นความแก่ (2) เพราะรัก (3) สังเกต (4) อาการ (5) อัลไซเมอร์ (6) วิกฤติ ... ชีวิตเมื่อยามชรา และ (7) ป้องกัน ด้วยรักและเข้าใจ กระบวนการผลิตสปอตวิทยุกระจายเสียงต้นแบบมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน การดำเนินการผลิต 2) การวางแผนการเขียนบท 3) การเขียนบทสปอตวิทยุ 4) การพิจารณา วิพากษ์ พัฒนาบทวิทยุ 5) การบันทึกบทสปอตต้นแบบ การลงเสียง และการตัดต่อ ส่วนการพัฒนาสื่อ ต้นแบบ ประกอบด้วย การสร้างเครื่องมือในการพิจารณาสื่อต้นแบบ การกำหนดผู้พิจารณาสื่อ ต้นแบบ การประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อรับฟังสื่อต้นแบบรวมกัน และการสนทนากลุ่ม โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 10 คน ผลการพิจารณาพบว่า (1) ด้านความยาวของสปอตวิทยุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านเนื้อหาของสปอตวิทยุโดย ภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3) ด้านรูปแบบการนำเสนอของสปอตวิทยุ โดยภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (4) ด้านคุณภาพเสียงของผู้นำเสนอสปอตวิทยุโดยภาพรวมมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ (5) ด้านคุณภาพของสปอตวิทยุโดยภาพรวม โดยภาพรวมมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และหลังจากสื่อต้นแบบผ่านการประเมินแล้ว ได้มีการเผยแพร่ส ปอตวิทยุกระจายเสียงต้นแบบทางสถานีวิทยุกระจายเสียงสถานีวิทยุชุมชนสบายใจเรดิโอ เอฟ.เอ็ม. 89.00 เมกะเฮิร์ตซ และสถานีวิทยุชุมชน ในอำเภอต่างๆ จำนวน 8 อำเภอในจังหวัดพะเยา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12142
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141050.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons