กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12145
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นต่อการสื่อสารระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยโรคทางอายุรกรรมโรงพยาบาลราชวิถี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Opinions for communication between nurse and medical disease patient of Rajavithi Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ อุทัย พึงใจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การสื่อสารระหว่างบุคคล พยาบาลกับผู้ป่วย การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นต่อการสื่อสารระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยโรคทางอายุรกรรมโรงพยาบาลราชวิถี และ (2) ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสารระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยโรคทางอายุรกรรมโรงพยาบาลราชวิถี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรมโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา จำนวน 100 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลราชวิถี โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบด้านผู้ส่งสาร (พยาบาล) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่การตั้งใจรับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการสื่อสาร การสื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย การแสดงความเป็นกันเอง การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยแสดงความคิดเห็น การเลือกวิธีสื่อสารให้ เหมาะสม การแสดงท่าทีเปิดเผยกับผู้ป่วย การมีความรู้สึกที่ดีกับผู้ป่วย การให้ความสำคัญเรื่องความแตกต่างของผู้ป่วยตามลำดับ และความคิดเห็นด้านสาร (ภาษา) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ใช้คำพูดสุภาพนุ่มนวลตามลำดับ ความคิดเห็นด้านช่องทางการสื่อสาร(สื่อ ) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการและใช้สื่อประกอบ ด้านผลสะท้อนกลับโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ซักถาม(2) ปัญหาและอุปสรรคการสื่อสารระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยโรคทางอายุรกรรม ได้แก่ ผู้ส่งสาร(พยาบาล)ขาดทักษะการสื่อสาร ไม่เข้าใจข้อมูล ไม่ตั้งใจรับฟัง ไม่แสดงความเป็นกันเอง ไม่ไว้วางใจ และไม่เชื่อถือพยาบาลตามลำดับ ด้านสาร(ภาษา) ใช้ศัพท์เทคนิค ด้านช่องทางการสื่อสาร(สื่อ)มีการเลือกใช้สื่อไม่เหมาะสม ขาดการสื่อสารแบบสองทาง และไม่มีการเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารกลับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12145 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
124140.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License