กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12163
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานบนระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the operation on e-Government procurement system of municipal employees in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์
รัชดาภรณ์ มะณีทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การทำงาน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานบนระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ (2) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานบนระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานบนระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 170 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 119 คน โดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์การถดถอย เชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า (1) การปฏิบัติงานบนระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในระดับมีความสามารถมาก (2) พนักงานที่มีเพศแตกต่างกันมีความสามารถในการปฏิบัติงานบนระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานบนระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ เรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ เครื่องมือ อุปกรณ์ และการสนับสนุนจากผู้บริหารหน่วยงานกลาง โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงาน บนระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12163
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151884.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons