กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12172
ชื่อเรื่อง: บทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกับการมีส่วมร่วมของภาคประชาสังคม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The roles of the National Anti-Corruption Commission in the prevention and suppression of corruption and the participation of the civil society
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
กมลวรรณ ศรีชาย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การทุจริตและประพฤติมิชอบ--ไทย--การมีส่วนร่วมของประชาชน.
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดและหลักการพื้นฐานอันเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มาและอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระหว่างภาคประชาสังคมและ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระหว่างภาคประชาสังคมและ ป.ป.ช. ของไทยและองค์กรที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันของต่างประเทศ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุง แก้ไข กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระหว่างภาคประชาสังคมและ ป.ป.ช. ให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมและสามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างแท้จริง ผลการศึกษาพบว่า การป้องกันและปราบปรามการทุจริตกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม รวมทั้งแนวคิดในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. กับภาคประชาสังคม ยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่เกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่ ผู้ศึกษาจึงได้มีข้อเสนอแนะต่อปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการป้องกันการทุจริตโดยเสนอให้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในของสำนักงาน ป.ป.ช.เกี่ยวกับงานด้านป้องกันการทุจริต โดยควรมีการบัญญัติกฎหมายรองรับให้ภารกิจด้านการป้องกันการทุจริตมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนและเป็นภารกิจหลัก โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างให้ภารกิจป้องกันการทุจริตมีความเป็นเอกเทศและมีคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตโดยตรงอย่างเต็มที่ โดยเพิ่มสำนักที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตโดยตรงให้มีจำนวนมากขึ้นและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกันพยานและคุ้มครองพยานให้ มีขั้นตอนที่กระชับ รัดกุม สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย รวมทั้งยังได้เสนอแนะให้มีระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยปรับรูปแบบเน้นให้ภาคประชาสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วม มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพิ่มมากขึ้นด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12172
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156622.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons