กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12181
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาบทบาทเงินคงคลังต่อการพัฒนาประเทศผ่านวิกฤตการณ์เงินคงคลังของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of treasury balances’s dominant role for country development through Thailand Treasury Balances Crisis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ อรพรรณ นันทกิจโกศล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | เงินคงคลัง วิกฤตการณ์การเงิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เปรียบเทียบปัจจัยของวิกฤตการณ์เงินคงคลังในประเทศไทย (2) วิเคราะห์บทบาทของเงินคงคลังต่อการพัฒนาประเทศไทย และ (3) เสนอแนวทางแก้ไขและป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์เงินคงคลังของประเทศไทยในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า (1) การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยของวิกฤตการณ์เงินคงคลังในประเทศไทยทั้ง 4 วิกฤตการณ์ ได้แก่ วิกฤตการณ์เงินคงคลังในรัชกาลที่ 6 วิกฤตการณ์เงินคงคลังในปี 2523 - 2525 วิกฤตการณ์เงินคงคลังในปี 2549 และวิกฤตการณ์เงินคงคลังในปี 2563 – 2564 ล้วนปรากฏปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์เงินคงคลังในลักษณะร่วมกันทั้ง 6 ปัจจัย ได้แก่ นโยบายการคลังของรัฐบาล กฎหมายทางการคลัง เศรษฐกิจและสังคม การนำส่งเงินเข้าคลัง การเบิกจ่ายเงินจากคลังการบริหารเงินคงคลังและวิกฤตการณ์เงินคงคลัง (2) การวิเคราะห์บทบาทของเงินคงคลังต่อการพัฒนาประเทศไทยผ่านวิกฤตการณ์เงินคงคลังทั้ง 4 วิกฤตการณ์ พบว่า เงินคงคลังมีบทบาทในการพัฒนาประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ทั้งในช่วงก่อนการเกิดวิกฤตการณ์เงินคงคลังและช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เงินคงคลัง ผ่านการใช้จ่ายเงินคงคลังในสถานะเงินในคลังและในสถานะเงินออมของประเทศ (3) แนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์เงินคงคลังในปี 2563 - 2564 ได้แก่ รัฐบาลมีนโยบายการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 ปฏิบัติตามกฎหมายการบริหารหนี้และกฎหมายทางการคลังที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด จัดทำโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีอากร ลดปริมาณการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง บริหารหนี้สาธารณะอย่างระมัดระวัง และลดการถือเงินคงคลังเป็นจำนวนมากไว้ ส่วนแนวทางป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์เงินคงคลังของประเทศไทย รัฐบาลจะต้องป้องกันทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12181 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License