กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12183
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ในจังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix factors affecting purchasing decision of the Shopee application users in Prachinburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อโณทัย งามวิชัยกิจ
มินตรา จารวัฒน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การซื้อสินค้า
การซื้อสินค้าทางออนไลน์
โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
การตลาดอินเทอร์เน็ต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ในจังหวัดปราจีนบุรี (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ในจังหวัดปราจีนบุรี (3) การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ในจังหวัดปราจีนบุรี (4) เปรียบเทียบความแตกต่างการตัดสินใจซื้อของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ในจังหวัดปราจีนบุรี และ (5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ในจังหวัดปราจีนบุรี ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด วุฒิการศึกษาปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ที่ได้รับเฉลี่ย 10,001-20,000 บาท (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ พบว่า มีระดับการให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ระดับความคิดเห็นของระดับความคิดเห็นของการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ อยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ผู้ใช้บริการตั้งใจจะซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้เพื่อใช้งานในอนาคต มากที่สุด (4) เปรียบเทียบความแตกต่างการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ พบว่า ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่ได้รับเฉลี่ย มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันช้อปปี้ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12183
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons