กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12192
ชื่อเรื่อง: วันและเวลาทำงานปกติ การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Working hours working days overtime work and work on rest day
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฏ ลีดส์
จงไพบูลย์ คงมณีพิทักษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การทำงาน--ไทย
กฎหมายแรงงาน
ชั่วโมงแรงงาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและวิวัฒนาการของวันและเวลาทำงานปกติ การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับวันและเวลาทำงานปกติ การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุดตามกฎหมายไทย เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับวันและเวลาทำงานปกติ การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุดตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับวันและเวลาทำงานปกติ การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุดตามกฎหมายไทยกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับวันและเวลาทำงานปกติ การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง และลูกจ้างมากยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารจากกฎหมายมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป รวมทั้งกฎหมายแรงงานของประเทศญี่ปุ่นประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้ง บทความเว็บไซต์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ โดยวิธีการวิเคราะห์เชิงกฎหมายเปรียบเทียบผลการศึกษาพบว่า ถ้าประเทศไทยกำหนดให้นายจ้างสามารถให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับนายจ้าง จะสามารถคุ้มครอง ลูกจ้างแรงงานไทยได้ดีขึ้น ถ้าประเทศไทยกำหนดให้การที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดได้จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐเสียก่อน จะสามารถคุ้มครองลูกจ้างแรงงานไทยได้ดีขึ้น และถ้าประเทศไทยกำหนดให้งานทุกประเภทนั้นนายจ้างต้องชดเชยระยะเวลาหยุดพักผ่อนให้แก่ลูกจ้างที่นายจ้างให้มาทำงาน ล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดให้แก่นายจ้าง จะสามารถคุ้มครองลูกจ้างแรงงานไทยได้ดีขึ้น ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายแรงงานไทยให้สามารถคุ้มครองลูกจ้างแรงงานไทยได้ดีขึ้นตามผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12192
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158481.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons