กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12195
ชื่อเรื่อง: | การคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์และสวัสดิการภายหลังคลอดบุตร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Protection of pregnant employees and puerperal welfare |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนินาฏ ลีดส์ ชญา เรืองปราชญ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี สตรีมีครรภ์ สวัสดิการลูกจ้าง การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การค้นคว้าอิสระเรื่อง การคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์ และสวัสดิการภายหลังคลอดบุตร มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความหมาย ความเป็นมา แนวคิด และหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครอง และสวัสดิการของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ (2) เพื่อวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครอง และสวัสดิการของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ในประเทศไทย (3) เพื่อวิเคราะห์มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครอง และสวัสดิการของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ของต่างประเทศเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทย (4) เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาการคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์ และ สวัสดิการภายหลังคลอดบุตรของลูกจ้างหญิงในประเทศไทยให้เหมาะสมเป็นธรรมตามกฎหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ และบุตรให้ดียิ่งขึ้นการค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางเอกสารด้วยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากหนังสือ ตำรากฎหมาย ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา วิทยานิพนธ์ เอกสารประกอบการสอน สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศผลการศึกษาพบว่า การคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์ และสวัสดิการภายหลังคลอดบุตรตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย ยังขาดความเหมาะสม และไม่มีความเป็นธรรมเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากความบกพร่องของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บางประการ เช่น ไม่มีนิยามความหมายของคำว่า "ลาคลอด"ไว้ สิทธิลาคลอดยังต่ำกว่ามาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ บทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานที่อาจเป็นอันตรายก็มิได้ให้ความคุ้มครองไปถึงช่วงระยะเวลาภายหลังจากการคลอดบุตร นอกจากนี้ยังมิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสวัสดิการภายหลังคลอดของลูกจ้างหญิงไว้เลย ซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขไว้ ดังนี้ (1) ควรบัญญัติบทนิยามความหมายของคำว่า "ลาคลอด" ให้ชัดเจน (2) ควรแก้ไขบทบัญญัติในเรื่องสิทธิลาคลอดให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ (3) ควรกำหนดให้ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ หรือการคลอดบุตร (4) ควรกำหนดให้มีการคุ้มครองการทำงานที่อาจเป็นอันตราย ในช่วงระยะเวลาภายหลังคลอดบุตร (5) ควรเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับสวัสดิการภายหลังคลอดบุตรไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ เพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์ และ สวัสดิการภายหลังคลอดบุตร ของประเทศไทยมีความเหมาะสมและมีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12195 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
144691.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License