กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12196
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for development of Digital Literacy of School Administrators Under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ ภาณุวัฒน์ ฐานไชยยิ่ง, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้บริหารโรงเรียน การรู้สารสนเทศ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ผลการวิจัยพบว่า 1) การรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านทักษะการใช้ ด้านทักษะการเข้าถึง ด้านทักษะการวิเคราะห์ ด้านทักษะการสร้างสรรค์ ด้านทักษะการประเมิน ด้านทักษะการสื่อสารและด้านทักษะการเข้าใจ 2) แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควร (1) เข้ารับการอบรมพัฒนาความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์ และนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติงาน (2) ตั้งประเด็นคำถามกับข้อมูลสารสนเทศที่ได้รับมาเกี่ยวกับที่มา และจุดประสงค์ของสารสนเทศ และนำมาวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศ (3) ทำความเข้าใจความแตกต่างและประโยชน์ของอุปกรณ์ดิจิทัลที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประจำ รวมทั้งส่งเสริมการสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่เป็นระบบ (4) ยึดหลักความคุ้มค่าเป็นแนวทางในการพัฒนาการประเมินดิจิทัล และแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาการประเมินดิจิทัลระหว่างเครือข่ายสถานศึกษา (5) ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ดิจิทัลจากต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ และมีผลงานเชิงประจักษ์ (6) ศึกษาช่องทางการสื่อสารบนเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอและฝึกฝนการใช้ภาษาในการสื่อสารทางสื่อออนไลน์ให้ชัดเจน สุภาพ เข้าใจง่าย ไม่กำกวม และ (7) พัฒนาตนเองให้มีองค์ความรู้อย่างชัดเจนและครอบคลุมกับเนื้อหาเทคโนโลยีดิจิทัลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12196 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License