กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12201
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจซ่อมแซมรถยนต์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The consumer protection in auto repair service business
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชาว์ เจริญลาภ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
รถยนต์--การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
การคุ้มครองผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจซ่อมแซมรถยนต์ ซึ่งมีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจ และความปลอดภัยของผู้บริโภคที่จะต้องมีการตรวจสอบรถยนต์หลังจากผ่านการซ่อมแซม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง (1) แนวคิด หลักกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคสัญญาจ้างทำของในธุรกิจ ซ่อมแซมรถยนต์ (2) ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการตรวจสอบรถยนต์หลังผ่านการซ่อมแซม จากผู้ประกอบธุรกิจซ่อมแซมรถยนต์ (3) การให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่ทำสัญญาให้ได้รับความเป็น ธรรม (4) หาแนวทางปรับปรุงและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านมาตรการ ตรวจสอบการซ่อมแซมรถยนต์ในธุรกิจซ่อมแซมรถยนต์ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจาก กฎหมายไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง คือ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค คำพิพากษาของศาล ตำราทาง กฎหมาย และบทความทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า การคุ้มครองผู้บริโภคในการซ่อมแซมรถยนต์ต้องมีการตรวจสอบก่อน นำไปใช้งานโดยมีกฎหมายรองรับความปลอดภัย ให้มีองค์กรที่มีอำนาจทางกฎหมายตรวจสอบก่อนนำ รถยนต์ออกไปใช้งาน สัญญาซ่อมแซมรถยนต์เป็นสัญญาจ้างทำของระหว่างผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง ซึ่ง สัญญาจ้างทำของมุ่งที่ความสำเร็จของงาน แต่การซ่อมแซมรถยนต์นั้นต้องใช้ความรู้ความสามารถ ส่วน ด้านราคาค่าซ่อมแซมรถยนต์ธุรกิจซ่อมแซมรถยนต์เป็นผู้กำหนดเพียงฝ่ายเดียว ในเรื่องการซ่อมแซม รถยนต์ที่มีประกันภัยนั้น เมื่อรถยนต์ชำรุดบกพร่องจากอุบัติเหตุ บริษัทรับประกันภัยนำรถยนต์ไป ซ่อมแซมกับผู้ประกอบการธุรกิจซ่อมแซมรถยนต์ ซึ่งไม่มีเกณฑ์มาตรฐานและหน่วยงานตรวจสอบ คุณภาพ และความรับผิดของธุรกิจซ่อมแซมรถยนต์ไม่มีการประกันความเสียหายจากการซ่อมแซมรถยนต์ เมื่อบุคคลภายนอกกระทำละเมิดกับทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเอง เพื่อความเป็น ธรรมแก่ผู้บริโภคข้อเสนอแนะแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการป้องกันก่อนเกิดความเสียหายโดย ใช้มาตรการทางกฎหมายและหน่วยงานเฉพาะควบคุมดูแลธุรกิจซ่อมแซมรถยนต์ให้มีคุณภาพ และ ผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการซ่อมแซมรถยนต์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12201
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146907.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons