กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12203
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal issues related to the business franchise
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัฏฐิญา สิริบวรพิพัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชูชาติ คุณศิริอรุณ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
แฟรนไชส์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์มี วัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (2) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยและต่างประเทศ (3) เพื่อศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาในธุรกิจแฟรนไชส์และกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และ (4) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมข้อเสนอแนะ การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ศึกษาจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสาร บทความ ตัวบทกฎหมาย กฎ ระเบียบและ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ ข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและ ต่างประเทศ ตลอดทั้งคำพิพากษาของศาล เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่ แนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ใช้ควบคุมธุรกิจแฟรนไชส์ สัญญาแฟ รนไชส์ในประเทศไทยจึงจะต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติข้อ สัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ประกอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญามาปรับใช้ รวมถึง การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไม่มีหน่วยงานของรัฐหรือคณะกรรมการใดของรัฐเข้า มาคอยควบคุมการประกอบกิจการอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างอิสระเสรี แฟรนไชส์ซอร์จึงเป็นผู้ที่ได้เปรียบในสัญญาแฟรนไชส์ เสมอ ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางแก้ไขไว้ดังนี้ (1) รัฐควรกำหนดให้ประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้ควบคุมธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ (2) เมื่อประเทศไทยมี กฎหมายที่ใช้ควบคุมธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะแล้ว รัฐควรกำหนดให้มีบทบัญญัติดังต่อไปนี้ เช่น กำหนดความหมายของแฟรนไชซิ่ง แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจ แฟรนไชส์ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนทำการชักชวนหรือ โฆษณาด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริงและการรักษาความลับของข้อมูลทางการค้า เป็นต้น (3) รัฐควรนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ ตลอดทั้งนำแนวคิดของประเทศสหรัฐอเมริกาและ ประเทศญี่ปุ่นมาใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายของประเทศไทยเพื่อให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12203
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145379.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons