กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12204
ชื่อเรื่อง: | บรรยากาศองค์การที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Organizational climate relating Quality of Working life of Officials of Department of Labour Protection and Welfare, Ministry of Labour |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ ศาฐิณี สมฤทธิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | คุณภาพชีวิตการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ระดับบรรยากาศองค์การของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 2) ระดับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน การศึกษาครั้งนี้เป็ นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการสังกัดส่วนกลางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจํานวน 491คน กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคํานวณของทาโร่ ยามาเน่ได้จํานวน 220 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับบรรยากาศองค์การของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยรวมอยู่ในระดับสูง รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านอํานาจการตัดสินใจ รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ ด้านรางวัลและผลตอบแทน 2) ระดับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยรวมอยู่ในระดับสูง รายด้านที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบูรณาการทางสังคม รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และ 3) บรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างจูงใจ ยกย่องชมเชย รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ ด้านโครงสร้างองค์การ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12204 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License