Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12207
Title: การใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัย
Other Titles: The enforcement of Security guard Business Act
Authors: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐชากร แก้วเกตุ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การบังคับใช้กฎหมาย
ธุรกิจ-- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมา ทฤษฎีและหลักการ ของการรักษาความปลอดภัย เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย ทั้งของ ประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการรักษาความปลอดภัย และ เสนอ แนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยรวบรวม ข้อมูลภายในประเทศและข้อมูลต่างประเทศ ค้นคว้าข้อมูลจาก เอกสารต่างๆ หนังสือ วารสาร บทความ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และตัวบทกฎหมาย รวมทั้งวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมา วิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงถูกต้องและเหมาะสมต่อไป ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 ไม่ได้บังคับ ใช้กับบริษัทหรือสถานประกอบการประเภทอื่นที่มิใช่บริษัทรักษาความปลอดภัยที่รับสมัคร พนักงานรักษาความปลอดภัยเอง องค์การทหารผ่านศึก พนักงานรักษาความปลอดภัยอิสระ แต่บังคับใช้กับบริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชนและพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชนเท่านั้น ทำให้มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน สมควรกำหนดให้ทุกองค์กรอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเดียวกัน และการกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม เป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่ให้บุคคลนั้นใช้สิทธิและ เสรีภาพ เป็นการตัดโอกาสในการประกอบอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย การฝึกอบรม พนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นการเพิ่มภาระและค่าใช้จ่าย พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องเข้า รับการฝึกอบรมนานหลายวัน ทำให้เสียโอกาสในการทำงาน สมควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ เหมาะสม และควรกำหนดให้มีตัวแทนจากภาคเอกชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย เพราะทำให้มองเห็นปัญหาได้อย่างครบถ้วน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ สุดท้ายการ กำหนดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องช่วยเหลือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แต่มิได้ กำหนดขอบเขตความช่วยเหลือ หากพนักงานรักษาความปลอดภัยได้รับผลกระทบจากการ ช่วยเหลือดังกล่าว อาจจะต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12207
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
160379.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons