Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12226
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกล้า ทองขาวth_TH
dc.contributor.authorสำเร็จ สามัตถิยะth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-06-18T02:01:38Z-
dc.date.available2024-06-18T02:01:38Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12226en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2538th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการนำนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ไปปฏิบัติ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ และเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติตามทรรศนะของกลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งและประลบการณ์ในโครงการต่างกัน ตลอดจนศึกษาปัญหา ข้อ เสนอเพื่อการแก้ปัญหา และข้อเสนอในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ การค้นพบ 1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยด้านต่าง ๆ คือ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย การกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การสนับสนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่น และมาตรการควบคุมประเมินผลและการกระตุ้นส่ง เสริม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ.01 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลของการนำนโยบายขยายโอกาลทางการศึกษา ไปปฏิบัติคือ (1) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย (2) การกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน (3) ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ (4) การสนับลนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่น และ (5) มาตรการควบคุม ประเมินผลและการกระตุ้นส่ง เสริมจำแนกตามระดับการศึกษาตามตำแหน่ง และตามประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่ง พบว่า ไม่แตกต่างกันยกเว้น (1) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ในโครงการต่างกันมีความคิด เห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการสนับสนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และด้านการสนับสนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับผลของการนำนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ไปปฏิบัติ คือ (1) การบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุ-ประสงค์ของโครงการในเวลาที่กำหนด (2) การได้รับประโยชน์โดยตรงของกลุ่มเป้าหมายจำแนกตามเพศ ตามตำแหน่ง ตามระดับการศึกษา ตามประลบการณ์ในการดำรงตำแหน่งและตามประสบการณ์ในโครงการ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเมื่อเปรียบเทียบตามอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติและตัวแปร การได้รับประโยชน์โดยตรงของกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 4. ปัญหาในการดำเนินงานโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเสนอแนะโดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การขาดแคลนครูผู้สอน อาคารสถานที่ไม่เพียงพองบประมาณมีจำกัดและการเบิกจ่ายล่าช้า วัสดุอุปกรณ์การ เรียนการสอนไม่เพียงพอตามลำดับ 5. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย หากมุ่งหมายให้การนำนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรดำ เนินการดังนี้ (1) จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เพียงพอ ได้แก่ ครูผู้สอน, อาคารสถานที่, งบประมาณและวัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน (2) จัดอบรมสัมมนา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานโครงการมีความรู้ ทักษะและ เจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน (3) นิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างสม่ำ เสมอและให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นเสริมแรง แก่ผู้ปฏิบัติงานโครงการดีเด่นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourcereformateden_US
dc.subjectนโยบายการศึกษา--ไทย--อุบลราชธานีth_TH
dc.subjectการศึกษาขั้นประถม--ไทย--อุบลราชธานีth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลของการนำนโยบาย ขยายโอกาสทางการศึกษาไปปฏิบัติ ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativeFactors related to the implementation results of the education expansion policy in primary schools, Office of Primary Education, Ubon Ratchathanien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.contributor.coadvisorสุมาลี สังข์ศรีth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons