กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12226
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลของการนำนโยบาย ขยายโอกาสทางการศึกษาไปปฏิบัติ ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the implementation results of the education expansion policy in primary schools, Office of Primary Education, Ubon Ratchathani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล้า ทองขาว
สำเร็จ สามัตถิยะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุมาลี สังข์ศรี
คำสำคัญ: นโยบายการศึกษา--ไทย--อุบลราชธานี
การศึกษาขั้นประถม--ไทย--อุบลราชธานี
วันที่เผยแพร่: 2538
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการนำนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ไปปฏิบัติ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ และเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติตามทรรศนะของกลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งและประลบการณ์ในโครงการต่างกัน ตลอดจนศึกษาปัญหา ข้อ เสนอเพื่อการแก้ปัญหา และข้อเสนอในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ การค้นพบ 1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยด้านต่าง ๆ คือ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย การกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การสนับสนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่น และมาตรการควบคุมประเมินผลและการกระตุ้นส่ง เสริม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ.01 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลของการนำนโยบายขยายโอกาลทางการศึกษา ไปปฏิบัติคือ (1) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย (2) การกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน (3) ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ (4) การสนับลนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่น และ (5) มาตรการควบคุม ประเมินผลและการกระตุ้นส่ง เสริมจำแนกตามระดับการศึกษาตามตำแหน่ง และตามประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่ง พบว่า ไม่แตกต่างกันยกเว้น (1) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ในโครงการต่างกันมีความคิด เห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการสนับสนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และด้านการสนับสนุนจากส่วนกลางและท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับผลของการนำนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ไปปฏิบัติ คือ (1) การบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุ-ประสงค์ของโครงการในเวลาที่กำหนด (2) การได้รับประโยชน์โดยตรงของกลุ่มเป้าหมายจำแนกตามเพศ ตามตำแหน่ง ตามระดับการศึกษา ตามประลบการณ์ในการดำรงตำแหน่งและตามประสบการณ์ในโครงการ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเมื่อเปรียบเทียบตามอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติและตัวแปร การได้รับประโยชน์โดยตรงของกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 4. ปัญหาในการดำเนินงานโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเสนอแนะโดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การขาดแคลนครูผู้สอน อาคารสถานที่ไม่เพียงพองบประมาณมีจำกัดและการเบิกจ่ายล่าช้า วัสดุอุปกรณ์การ เรียนการสอนไม่เพียงพอตามลำดับ 5. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย หากมุ่งหมายให้การนำนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรดำ เนินการดังนี้ (1) จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เพียงพอ ได้แก่ ครูผู้สอน, อาคารสถานที่, งบประมาณและวัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน (2) จัดอบรมสัมมนา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานโครงการมีความรู้ ทักษะและ เจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน (3) นิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างสม่ำ เสมอและให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นเสริมแรง แก่ผู้ปฏิบัติงานโครงการดีเด่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2538
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12226
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons