กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12234
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหน่วยบูรณาการ เรื่องอยู่ดีมีสุขและความสามารถในการคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองกก จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of the situation coping method on learning achievement in the integrated unit: Yoo Dee Mee Suk and analytical thinking ability of Prathom Suksa VI students at Ban Nongkok School in Buri Ram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผุสดี กุฎอินทร์
รุ่งสุรีย์ ศรีสุวะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ภณิดา มาประเสริฐ
สมถวิล วิจิตรวรรณา
คำสำคัญ: การสอนแบบบูรณาการ
ความคิดและการคิด
การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
นักเรียนประถมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยบูรณาการเรื่อง อยู่ดีมีสุข ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์มีคะแนนความสามารถในการคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนความสามารถในการคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบไม่มีความสัมพันธ์กัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12234
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons