กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12271
ชื่อเรื่อง: การก่อเกิดและลักษณะสำคัญของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยนอกกระแสหลัง พ.ศ. 2540
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Origins and salient characteristics of Thai independent film directors after 1997
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล
พิทักษ์ ปานเปรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กาจร หลุยยะพงศ์
ขจิตขวัญ กิจวิสาละ
คำสำคัญ: ผู้กำกับภาพยนตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยสังคมทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยนอกกระแสก่อเกิดขึ้นมา 2) ลักษณะสำคัญในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยนอกกระแส 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการก่อเกิดตัวผู้กำกับและลักษณะสำคัญ การสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยนอกกระแสการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ตัวบท โดยใช้การเลือกหน่วยวิเคราะห์และผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยนอกระแสที่ผ่านเกณฑ์ลักษณะความเป็นประพันธกร จำนวน 5 คน หน่วยวิเคราะห์ ประกอบด้วย ภาพยนตร์ จำนวน 15 เรื่อง โดยใช้เกณฑ์เป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดยผู้ให้ข้อมูลหลักที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ระหว่าง พ.ศ.2540-2558 ใช้แบบวิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์ ประกอบด้วยโครงสร้างเรื่องและวิธีการเล่าเรื่อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อเกิดของผู้กำกับมีทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีแม้ประเทศไทยจะประสบปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แต่ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการก่อเกิดของผู้กำกับสองประการ ประการแรก ได้แก่ การสร้างจิตสำนึกทางการเมืองและเรียกร้องผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจแก่ชนชั้นตน โดยเฉพาะกลุ่มผู้กำกับที่เติบโตในต่างจังหวัด ประการที่สอง ปัจจัยดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้กำกับชนชั้นกลางรุ่นใหม่ที่ปรับตัวเข้ากับสังคมยุคโลกาภิวัตน์และเข้าถึงปัจจัยด้านเทคโนโลยีสื่อ ทำให้มีโอกาสสร้างภาพยนตร์อย่างอิสระ แต่ปัจจัยเกี่ยวกับการกำกับควบคุมสื่อภาพยนตร์ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการก่อเกิดผู้กำกับ 2) ลักษณะสำคัญในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ ประกอบด้วยโครงสร้างเรื่องและวิธีการเล่าเรื่อง ในด้านโครงสร้างเรื่อง พบว่าผู้กำกับมักนำเอาโครงเรื่อง แก่นความคิด และตัวละครมาจากภูมิหลังประสบการณ์ชีวิตตนเองหรือคนใกล้ชิด มีความเป็นส่วนตัวสูง ส่วนวิธีการเล่าเรื่องผู้กำกับมีมุมมองการเล่าเรื่อง การจัดองค์ประกอบภาพ การตัดต่อที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ยึดติดตามกฎเกณฑ์ศิลปะภาพยนตร์ และถูกนำมาใช้บ่อยในภาพยนตร์จนมีลักษณะความเป็นประพันธกร 3) ปัจจัยทางการเมือง คือ การกำกับควบคุมเนื้อหาภาพยนตร์ โดยภาครัฐมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการก่อเกิดและการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของผู้กำกับทุกคน แต่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี และภูมิหลังของผู้กำกับที่แตกต่างกันส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างการก่อเกิดและการสร้างสรรค์ของผู้กำกับมีความแตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ประการแรก การก่อเกิดของผู้กำกับที่ต้องดิ้นรนจากภูมิหลังชีวิตเป็นคนรากหญ้า ขาดแคลนปัจจัยเงินทุนและการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อ ส่งผลให้ลักษณะการสร้างภาพยนตร์มีเนื้อหาสะท้อนสภาพชีวิตชนชั้นตน โดยใช้เทคโนโลยีการสร้างเท่าที่จำเป็น ประการที่สอง การก่อเกิดของผู้กำกับที่เป็นคนชนชั้นกลาง ฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเทคโนโลยีสื่อ ส่งผลให้ลักษณะการสร้างภาพยนตร์มีความแปลกใหม่ เป็นการสร้างสรรค์เชิงศิลปะจนได้รับการยอมรับจากต่างประเทศสูง นอกจากนี้ปัจจัยด้านการศึกษา ด้านสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำงานในวงการภาพยนตร์และในกลุ่มคนใกล้ชิด ซึ่งเป็นปัจจัยด้านที่ปรากฏเฉพาะในสังคมไทยมีส่วนทำให้เกิดกลุ่มชนชั้นของผู้กำกับขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในวงการภาพยนตร์ไทยนอกกระแส
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12271
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม ล.228.46 MBAdobe PDFดู/เปิด
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม ล.244.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons