Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12276
Title: | การประเมินโครงการการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาสงเคราะห์ ภาคเหนือ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | Evaluation of education for employment projects conducted by schools under the Northern Region Welfare School's Efficiency Promotion Network, Special Education Bureau, Office of Basic Education Commission |
Authors: | ศศิธร กาญจนสุวรรณ ทิพย์รัตน์ คำทิพย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | การวิเคราะห์และประเมินโครงการ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้า (2) ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการ (3) ประเมินประสิทธิผลของโครงการการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาสงเคราะห์ ภาคเหนือ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ดังนี้ (1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 34 คน (2) ครูผู้สอน จำนวน 85 คน (3) คณะกรรมการสถานศึกษา จํานวน 85 คน และ (4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 510 คนในปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 714 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความพร้อมด้านปัจจัยนําเข้าของการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทํา ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สิ่งที่ควรแก้ไขและพัฒนา คือ ครูผู้สอนควรพัฒนาความรู้และทักษะการทำวิจัย ทักษะการใช้ ดูแล ซ่อมแซม เครื่องมือ ถือ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพ (2) ความเหมาะสม ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทําประกอบด้วย การวางแผนในการจัดกิจกรรม การปฏิบัติตามแผนกิจกรรม การตรวจสอบผลการจัดกิจกรรม และการแก้ไขปรับปรุงการจัดกิจกรรม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน กิจกรรมที่ควรวางแผนและพัฒนาต่อไป คือ กิจกรรมการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทํา และ (3) ด้านประสิทธิผลของโครงการการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียน หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำที่มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนอาชีพมีความรู้และสามารถจัดการสอนอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนมีความพร้อมในการประกอบอาชีพและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ โดยภาพรวมด้านประสิทธิผล อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สิ่งที่ควรพัฒนา คือโรงเรียนควรมีหลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทําที่สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนและตามบริบทของแต่ละท้องถิ่น ครูควรมีการพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้และทักษะในอาชีพเพื่อนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพ ส่งเสริมพัฒนานักเรียนทางด้านความรู้ ทักษะทางอาชีพ คุณลักษณะและเจตคติที่ดีในการประกอบอาชีพสุจริต ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกประสบการณ์การทำธุรกิจขนาดเล็กและมีรายได้ระหว่างเรียน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12276 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License