กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12281
ชื่อเรื่อง: การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกับการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The exercise of power under section 44 of National Council for Peace and Order (NCPO) and the Administration of Local government in Maha Sarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนศักดิ์ สายจำปา
แสวง สำราญดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พิศาล มุกดารัศมี
คำสำคัญ: คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
การปกครองท้องถิ่น
รัฐประหาร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้อำนาจตามมาตรา 44 กับการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม (2) ผลกระทบด้านการจัดบริการสาธารณะในจังหวัดมหาสารคาม อันเป็นผลจากการใช้อำนาจตามมาตรา 44 กับการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม (3) ผลกระทบด้านการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม อันเป็นผลจากการใช้อำนาจตามมาตรา 44 กับการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ประชาชนผู้รับประโยชน์ ข้าราชการ และพนักงานส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น จำนวน 37 คน ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า การที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นไปช่วยราชการที่ศาลากลางจังหวัดมหาสารคามเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้เกิดผลกระทบ ดังนี้ 1) การบริหารงานบุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ไม่เป็นไปตามหลักการกระจายอำนาจและหลักความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2) ประชาชนไม่ได้รับบริการสาธารณะตามที่เคยได้รับจากการที่ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนการให้บริการสาธารณะขาดประสิทธิภาพ เช่น น้ำประปาไม่สะอาด ไม่เก็บขยะตามระยะเวลา ทำให้ขยะเน่าเหม็นรถดับเพลิงและรถกู้ชีพไม่พร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ โครงสร้างพื้นฐานขาดการพัฒนา 3) ระบบการเมืองการบริหารท้องถิ่น เป็นการบริหารแบบระบบรัฐราชการ ประชาชนไม่สามารถใช้กลไกในการถอดถอน ได้ เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12281
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons