กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12283
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Criminal law measures concerning discharges of illicit wastewater into rivers in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต บัณฑิตา ภูมิปัญญานำสกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณวิภา เมืองถ้ำ |
คำสำคัญ: | การบังคับใช้กฎหมาย น้ำเสีย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กฎหมายอาญา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำในประเทศไทย (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำในประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น (3) เสนอแนวทางและมาตรการทางกฎหมายอาญากี่ยวกับการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า (1) สิ่งแวดล้อมถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คนที่จะต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ไว้และควรตระหนักว่าการพัฒนาประเทศจะต้องกระทำควบคู่ไปกับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นไม่ว่าจากการกระทำของบุคคลใดจะต้องมีการชดใช้และเยียวยาความเสียหายนั้นเสมอ ซึ่งกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำในประเทศไทยมีทั้งประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติมากมายหลายฉบับในการบังคับใช้กฎหมาย มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม กำกับ ดูแลและกำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ ในการรักษาความสะอาด เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการรักษาความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชน (2) ประเทศไทย มีกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำที่มีความซ้ำซ้อนและเกิดช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย และมีโทษจำคุกและโทษปรับในอัตราที่ต่ำมากส่งผลให้ผู้กระทำความคิดไม่เกิดความเกรงกลัวและกระทำความผิดซ้ำอีกเมื่อเทียบกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสสหพันธ์สาธารณรัฐอเมริกา พบว่ามีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวลล้อม ได้อย่าง พบว่า มีการปรับปรุงกฎหมายกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้อย่างครอบคลุม และยังกำหนดให้ผู้กระทำความผิดฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่เสียไปให้กลับคืนดีดังเดิมอีกด้วย ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดบทลงโทษ ทั้งโทษจำคุกและโทษปรับค่อนข้างสูงและเหมาะสมกับการกระทำความผิด ทำให้ผู้กระทำความผิดเกรงกลัว และไม่กลับมากระทำความผิดซ้ำอีก และ (3) ข้อเสนอแนวทางที่สำคัญให้แก่ 1) ควรมีการรวบรวม ปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุม เพื่อง่ายต่อประชาชนผู้ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้พิพากษาที่พิจารณาศึกษากฎหมายสิ่งแวดล้อม 2) ควรกำหนดโทษให้มีอัตราโทษที่สูงขึ้นเพื่อเป็นการยับยั้ง ข่มขู่ มิให้ผู้กระทำความผิดซ้ำอีก 3 ควรมีมาตรการลงโทษที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดฟื้นฟูซ่อมแซมสิ่งแวดล้อมที่เสียไปให้กลับคืนดังเดิม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12283 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License