กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12284
ชื่อเรื่อง: | มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกผู้สูงอายุที่กระทำผิดทางอาญาของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Alternative measures instead of the imprisonment for the elderly who have committed criminal offense of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัลย์ ถนัดศิลปกุล ณัฐสุดา ผาสุข มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิมาน กฤตพลวิมาน |
คำสำคัญ: | การลงโทษ ผู้สูงอายุ ความผิด (กฎหมาย) มาตรการแทนการจำคุก |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทฤษฎีและแนวคิดในการลงโทษทางอาญา (2) ศึกษากฎหมายและมาตรการที่ใช้ลงโทษผู้สูงอายุที่ได้กระทำความผิดทางอาญาของประเทศไทย(3) ศึกษาแนวทางในการลงโทษผู้สูงอายุซึ่งกระทำความผิดทางอาญาโดยไม่ต้องรับโทษจำคุก (4) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและมาตรการอื่นของสาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศอังกฤษที่มีการลงโทษทางอื่นแทนการจำคุก (5) วิเคราะห์ สรุปปัญหา และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษผู้สูงอายุซึ่งกระทำความผิดทางอาญาแทนการลงโทษจำคุก ผลการศึกษาพบว่า (1) ทราบถึงทฤษฎีการลงโทษในทางอาชญาวิทยาแบ่งออกเป็น 5 ทฤษฎี ดังนี้ 1.1 ทฤษฎีกรรมถนอง 1.2 ทฤษฎีการขับยั้งขัดขวาง 1.3 ทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.4 ทฤษฎีการตัดผู้กระทำผิดออกจากสังคมและ 1.5 ทฤษฎีชดเชย และเเนวคิดในการลงโทษทางอาญาของแนวคิดสำนักอาชญาวิทยากึ่งดั้งเดิม (2) กฎหมายอาญามีบาตรการอื่นสำหรับผู้เยาว์โดยคำนึงถึงอายุ วุฒิภาวะ แต่ไม่มีกฎหมายอาญาที่กำหนดมาตรการอื่นแทนการลงโทษสำหรับผู้สูงวัยซึ่งมีความแตกต่างในด้านสภาพร่างกาย โดยหลักการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องลงโทษเสมอเหมือนกัน (3) จากที่ได้ศึกษากฎหมายสาธารณรัฐฝรั่งศสและประเทศอังกฤมพบว่ามีมาตรการอื่นแทนการลงโทมจำคุกผู้สูงอายุที่ ให้กระทำความทางอาญาซึ่งสามารถปรับใช้เป็นแนวทางในการลงโทษผู้สูงอายุซึ่งกระทำความผิดทางอาญาแทนการลงโทษจำคุกของประเทศไทย (4) จากการเปรียบเทียบกฎหมายเละมาตรการอื่นของ สาธารณรัฐฝรั่งเศสมีมาตรการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดวบคุมตัวผู้กระทำความผิดแทนการลงโทษจำคุก ซึ่งประเทศฝรั่งเศสใช้หลักทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนำมาตรการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมตัวผู้กระทำความผิดแทนการลงโทษจำคุก และประทศยังกฤษมีมาตรการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้กับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้สูงวัยเเทนการลงโทษจำคุก โดยอาศัยหลักทฤษฎีตัดผู้กระทำควานผิดออกจากสังคมมาปรับใช้ในการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้กับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้สูงวัยเเทนการลงโทษจำคุก (5) ประเทศไทยควรมีมาตรการในการลงโทษที่สามารถใช้ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้เกิดความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางในการลงโทษผู้สูงควรมีมาตรการในการลงโทษที่สามารถใช้ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือกำไลข้อทำในการคุมตัวผู้สูงอายุและการบัญญัติการลงโทษผู้สูงอายุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีหลักแนวคิดของนักอาชญาวิทยากึ่งดั้งเดิมในการสนับสนุนเกี่ยวกับการลงโทษผู้สูงอายุที่ควรมีการผ่อนปรนโทษ รวมถึงกฎหมายตราสามดวงของประเทศไทย และจากทฤษฎีหลักกฎหมายเรื่องการบังกับใช้กฎหมายที่เหมือนกันกับบุคคลที่ไม่เท่ากัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12284 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License