กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12300
ชื่อเรื่อง: | การจัดการความรู้การผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอสอง จังหวัดแพร่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Knowledge management of longan production of farmers in Song District, Phrae Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ จันทนา ปันทะนันท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
คำสำคัญ: | ลำไย--การผลิต-- ไทย--แพร่ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตลำไย 3) กระบวนการจัดการความรู้การผลิตลำไย 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการจัดการความรู้การผลิตลำไย ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเกินครึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 60.58 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ประสบการณ์ในการผลิตลำไยเฉลี่ย 18.33 ปี ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตลำไยเฉลี่ย 4.78 ครั้งต่อปี มีพื้นที่ปลูกลำไย เฉลี่ย 4.32 ไร่ ผลผลิตลำไยเฉลี่ย 504 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้ครัวเรือนจากภาคการเกษตรในรอบปี 2564 เฉลี่ย 32,337 บาท รายได้จากการขายผลผลิตลำไยเฉลี่ย 12,534 บาทต่อปี 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตลำไยในฤดูไม่มีการบังคับการออกดอก ไม่มีการคัดเกรดผลผลิตลำไย จำหน่ายลำไยในรูปแบบช่อผลสด และส่วนใหญ่ยังไม่ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตลำไย 3) กระบวนการจัดการความรู้การผลิตลำไย เกษตรกรมีการปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนการจัดการความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ (1) การบ่งชี้ความรู้ โดยมีการบ่งชี้ความรู้เรื่องการผลิตลำไยนอกฤดูโดยการบังคับการออกดอก (2) การสร้างและการแสวงหาความรู้ จากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จและจากการปฏิบัติสั่งสมประสบการณ์ (3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ยังไม่มีการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ (4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ มีการประมวลและเก็บไว้ในความทรงจำของบุคคล (S) การเข้าถึงความรู้ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ โดยการทำกิจกรรมกลุ่มการจัดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (7) การเรียนรู้ มีการนำความรู้มาใช้ในการแก้ไขปัญหา 4) เกษตรกรมีปัญหาในการจัดการความรู้ให้เป็นระบบอยู่ในระดับมาก ในประเด็นไม่มีการจัดความรู้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้สามารถสืบค้นง่าย และมีข้อเสนอแนะอยู่ในระดับมาก ในประเด็นการนำความรู้ที่ได้จากทั้งภายในและภายนอกมาทดลองปฏิบัติในการผลิตลำไย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12300 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License