Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12303
Title: สมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้
Other Titles: Competencies of external evaluators at the basic education level in the Southern Region
Authors: สุทธิวรรณ ตันติรจนา
จิตต์ โชติอุทัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง
Keywords: การประเมินผลทางการศึกษา
สมรรถภาพในการทำงาน
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ในด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ (2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ระหว่างผู้ประเมินที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน (3) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ระหว่างผู้ประเมินเต็มเวลาและผู้ประเมินบางเวลา (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ (5) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะและปัญหาทั่วไปของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ในภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ และด้านทักษะ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด (2) สมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ระหว่างผู้ประเมินในช่วงอายุต่างกัน มีสมรรถนะรวมทุกด้านไม่แตกต่าง แต่ในรายด้านแตกต่างกัน (3) สมรรถนะโดยรวมทุกด้าน ด้านความรู้และด้านทักษะ ระหว่างผู้ประเมินเต็มเวลาและผู้ประเมินบางเวลาไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านคุณลักษณะ ระหว่างผู้ประเมินเต็มเวลาและผู้ประเมินบางเวลาแตกต่างกัน (4) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะโดยรวมของผู้ประเมินภายนอก พบว่า สมรรถนะด้านความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูงกับสมรรถนะด้านทักษะ และมีความสัมพันธ์ปานกลางกับสมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนสมรรถนะด้านทักษะมีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูงกับด้านคุณลักษณะ (5) ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ประเมิน คือ ความรู้ไม่พอในเรื่องการบันทึกภาคสนามและการเขียนรายงาน ทีมงานไม่เตรียมงานและไม่บันทึกล่วงหน้า ผู้ประเมินไม่สนใจกฎระเบียบของ สมศ.และหน่วยที่สังกัด ค่าตอบแทนไม่พอเพียง การขาดประสิทธิภาพการบริหารของ สมศ.และหน่วยประเมินข้อเสนอแนะสำคัญคือ ให้ สมศ. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินให้แน่นอน ไม่เปลี่ยนหลักเกณฑ์บ่อย ให้ สมศ.และหน่วยเพิ่มความรู้แก่ผู้ประเมินอย่างต่อเนื่อง ให้หน่วยเข้มงวดการเตรียมงานล่วงหน้าก่อนประเมิน ให้ปรับการบริหาร สมศ.และหน่วยประเมิน ให้เพิ่มค่าตอบแทน ให้ สมศ. และหน่วยประเมินมีการประกันคุณภาพและมีรายงานการประเมินตนเอง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12303
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons