กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12307
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนารีวิทยา จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of taking the activities guidance package to develop behavior in using the proper social media of Matthayom Suksa 6 students, Narivittaya School Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
หทัยทิพย์ ยอดสุขประเสริฐ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อสังคมออนไลน์กับวัยรุ่น
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมของนักเรียนในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลองและ (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมในกลุ่มทดลองหลังทดลอง กับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนารีวิทยา จังหวัดราชบุรี ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แบบวัด ได้แก่พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .98 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม จำนวน 10 กิจกรรม และกิจกรรมแนะแนวแบบปกติสำหรับกลุ่มควบคุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม หลังการทดลองกับระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12307
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons