กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12318
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าข้ามควาย จังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Communication for community-based tourism of Tha Kham Kwai Community, Satun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิทยาธร ท่อแก้ว วิสูตร ประกอบ, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กานต์ บุญศิริ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ การท่องเที่ยวโดยชุมชน--ไทย--สตูล การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน--ไทย--สตูล |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าข้ามควาย จังหวัดสตูล เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร 2) การจัดการเครือข่ายการสื่อสาร และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าข้ามควาย จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร คือ ผู้มีหน้าที่ร่วมในการปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าข้ามควาย ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน สมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวผู้นำชุมชน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาศึกษาดูงานและเข้ามาท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าข้ามควาย (2)เนื้อหา คือ ประวัติชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของชุมชน สินค้าชุมชน และแนวความคิดการจัดการท่องเที่ยวชุมชนท่าข้ามควาย (3) สื่อ คือ สื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน สื่อป้ายขนาดเล็ก ป้ายขนาดใหญ่ เอกสารแจก แผ่นพับ กิจกรรมการท่องเที่ยวเว็บไซต์ของผู้ทรงอิทธิพล เฟซบุ๊ก ไลน์กลุ่ม และยูทูป (4) ผู้รับสาร คือ นักท่องเที่ยว ผู้ที่สนใจศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ นักพัฒนาชุมชน นักศึกษา และนักวิจัย (5) ผลการสื่อสาร คือ นักท่องเที่ยวได้มีความรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศน์และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว 2) การจัดการเครือข่ายการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว ประกอบด้วย (1) การรวมตัวของเครือข่ายการท่องเที่ยวที่เข้มแข็ง มุ่งมั่นสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (2) การกำหนดภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายมีแผนงานการจัดการการสื่อสารที่ชัดเจน (3) การปฏิบัติการสื่อสารโดยมุ่งเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ ทุกรูปแบบ และ (4) การจัดปัจจัยสนับสนุนการสื่อสารจากกลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว และหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว ประกอบด้วย (1) การเพิ่มพูนทักษะการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้กับเครือข่ายการสื่อสาร พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ภาษาจีนให้กับมัคคุเทศก์ชุมชนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว (3) การยกระดับการร่วมคิด ร่วมทำของผู้นำที่เป็นนักปกครองท้องที่ นักปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ สมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยว และประชาชนในชุมชนให้เป็นชุมชนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12318 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License