กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12362
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการงานอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาหอผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guideling on occupational health, safety and environment in the Cardio Surgery Ward
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์
ราตรี ค้าโค, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
อาชีวอนามัย--การจัดการ
อนามัยสิ่งแวดล้อม--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: จากสถิติ พ.ศ. 2550 มีผู้เข้ารับการผ่าตัดหัวใจทั้งประเทศถึง 12,162 ราย ซึ่งการที่มีผู้เข้ามารับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีนโยบายด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในหน่วยงาน ภายใต้นโยบายหลักของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการและบุคลากรมีความปลอดภัยทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมรวมทั้งการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ควรมีการค้นหาปัญหาและมีมาตรการจัดการอย่างมีระบบ การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ได้นำการเสวนามาใช้ในหอผู้ป่วยสก.19 ผ่าตัดหัวใจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ค้นหาปัญหาการจัดการงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ 2) จัดทำแนวทางปฏิบัติ เพื่อใช้ในการแก้ไขปรับปรุงระบบการจัดการงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ภายในหอผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ผลการศึกษามีดังนี้ 1) ปัญหาเรื่องการจัดการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการทำการเสวนา คือ ด้านอา ชีวอนามัย พบว่า บุคลากรละเลย ไม่ค่อยปฏิบัติตามหลักการการป้องกันการติดเชื้อ และ ไม่ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอคภัยส่วนบุคคล ด้านความปลอดภัย ยังไม่มีความพร้อมในการพร้อมรับสถานการณ์เกิดอัดคีภัย ขาดการตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในหน่วยงาน และ การได้รับอุบัติเหตุจากของมีคมและสิ่งคัดหลั่งกระเด็นสัมผัสร่างกายจากการปฏิบัติงาน และด้านสิ่งแวดล้อม พบปัญหาเรื่องการคัดแยกและเก็บขยะ และ 2) แนวทางการจัดการปัญหาด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยสก.19 ผ่าตัดหัวใจ ที่จัดทำแบ่ง เป็น 5 บท คือ บทที่ 1 กระบวนการบริหารความเสี่ยง บทที่ 2 แนวทางการจัดการปัญหาด้านอาชีวอนามัย บทที่ 3 แนวทางการจัดการปัญหาด้านความปลอดภัย และบทที่ 4 แนวทางการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12362
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_115743.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons