กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12385
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal Measures of Dietary Supplements Advertising Regulation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิมาน กฤตพลวิมาน
ธนพงศ์ ภูผาลี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิตตศุภางค์ ตันติภิรมย์
คำสำคัญ: โฆษณา--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
อาหารเสริม
กฎหมายโฆษณา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลการวิจัยพบว่า (1) การควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 (2) มาตรการในการควบคุมการโฆษณาอาหาร คือ ห้ามโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร และผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณอาหารจะต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์หรือข้อความที่จะโฆษณาให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ (3) ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย ยังมีความไม่ชัดเจนในการตีความของบทบัญญัติในมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 ที่ห้ามการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร ปัญหาโฆษณาเกิน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12385
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons