Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12385
Title: มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
Other Titles: Legal Measures of Dietary Supplements Advertising Regulation
Authors: วิมาน กฤตพลวิมาน
ธนพงศ์ ภูผาลี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิตตศุภางค์ ตันติภิรมย์
Keywords: โฆษณา--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
อาหารเสริม
กฎหมายโฆษณา
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลการวิจัยพบว่า (1) การควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 (2) มาตรการในการควบคุมการโฆษณาอาหาร คือ ห้ามโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร และผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณอาหารจะต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์หรือข้อความที่จะโฆษณาให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ (3) ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย ยังมีความไม่ชัดเจนในการตีความของบทบัญญัติในมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 ที่ห้ามการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร ปัญหาโฆษณาเกินจริง ปัญหาการดำเนินคดีตามกฎหมายมีความล่าช้าเนื่องจากไม่มีองค์กรเอกชนพิจารณาเนื้อหาแบบควบคุมกันเอง และปัญหาบทกำหนดโทษที่ไม่รุนแรง (4) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย คือ ควรมีการเพิ่มเติม ปรับปรุงบทบัญญัติในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ให้มีองค์กรเอกชนพิจารณาเนื้อหาโฆษณาก่อนยื่นขออนุญาตโฆษณาและร่วมตรวจสอบดำเนินคดี ให้ผู้รับจ้างผลิตโฆษณาร่วมรับผิดเพิ่มอัตราโทษให้รุนแรงขึ้น และในกรณีทำผิดซ้ำให้เพิ่มอัตราโทษเป็น 2 เท่าของบทกำหนดโทษเดิมที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12385
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons