กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12389
ชื่อเรื่อง: การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนเงาะของเกษตรกรในอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Integrated pest management of rambutan farm for farmer in Sangkhom District, Nongkhai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรรยา สิงห์คำ
วิทวัส ไชยรัตน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธำรงเจต พัฒมุข
คำสำคัญ: ศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
ศัตรูพืช --การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนเงาะของเกษตรกร 2) แหล่งความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนเงาะของเกษตรกร 3) วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนเงาะของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนเงาะของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการป้องกันกำจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนเงาะของเกษตรกร ได้แก่ ด้านวัชพืชคือลักษณะของวัชพืชและการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดวัชพืช แต่ขาดความรู้เกี่ยวกับการแพร่กระจายของวัชพืชในแปลงเงาะ ด้านโรคเงาะ คือ ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของโรคเงาะแต่ขาดความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโดยชีววิธี ด้านแมลงศัตรูเงาะ คือ ความรู้เกี่ยวกับลักษณะการเข้าทำลายของแมลงแต่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโดยชีววิธีและสารเคมี ด้านสัตว์ศัตรูเงาะ คือ ความรู้เกี่ยวกับลักษณะการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูเงาะ แต่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์ศัตรูเงาะ 2)เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากสื่อบุคคล สื่อกิจกรรม และสื่อมวลชนในระดับน้อย 3) ศัตรูพืชส่วนใหญ่ที่พบ คือโรครแป้ง โรคผลเน่า และโรคใบจุดสาหร่าย ตามลำดับ เกษตรกรมีวิธีกาลจัดการศัตรูพืชโดยการสำรวจศัตรูพืชก่อนตัดสินใจควบคุมศัตรูพืช และมีการใช้สารเคมีและสารชีวภัณฑ์ร่วมกัน 4 ปัญหาในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร ได้แก่ การขาดความชำนาญในการใช้สารเคมีและสารชีวภัณฑ์ที่ถูกต้องในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรไม่มีเวลาในการจัดการศัตรูพืชเนื่องจากประกอบอาชีพที่หลากหลาย ขาดการจัดทำข้อมูลปฏิทินการระบาดของศัตรูพืชและได้รับข้อมูลข่าวสารการจัดการศัตรูพืชจากสื่อต่าง ๆ น้อย มีแรงงานไม่พียงพอในการจัดการแปลงเงาะ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีราคาเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจากสถานที่จริง เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อให้เกิดการสื่อสารและสามารถประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนการระบาดของศัตรูพืชได้ทันเวลา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12389
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons