กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12399
ชื่อเรื่อง: | ผลของการใช้นิทานและดนตรีเป็นสื่อประกอบการสอนสาระทัศนศิลป์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสีวลี จังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of using fairy tales and music as supplementary media in teaching the visual art substance on creative thinking of Prathom Suksa III student at Siwali School in Pathum Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จันตรี คุปตะวาทิน เลอลักษณ์ คุ้มประยูร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมถวิล วิจิตรวรรณา |
คำสำคัญ: | ความคิดสร้างสรรค์--การศึกษาและการสอน ความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียน โดยใช้นิทานเป็นสื่อประกอบการสอนสาระทัศนศิลป์ (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียน โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อประกอบการสอนสาระทัศนศิลป์ และ (3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการใช้นิทานเป็นสื่อประกอบกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อประกอบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้นิทานเป็นสื่อประกอบสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (2) ความคิดสร้าง สรรค์ของนักเรียนหลังการเรียน โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อประกอบสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้นิทานเป็นสื่อ ประกอบสูงกว่านักเรียนโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12399 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License